2563 ศาลสั่งระงับโครงการ เฟส1 แล้ว

หลังจากที่โครงการถูกริเริ่มจากแนวคิดของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธิ์ จันทร์โอชา ในปี 2557 ได้มีการลงมติเห็นชอบอนุมัติงบ และเปิดเผยโครงการออกมาในปี 2558 โครงการได้รับเสียงสนับสนุน และต่อต้านมากมายมาโดยตลอด มีกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเรียกร้อง และต่อต้านโครงการนี้โดยเฉพาะอย่างกลุ่มสมัชชาแม่น้ำ ซึ่งตลอดมาได้มีทั้งการส่งหนังสือทบทวนต่อค.ร.ม. จัดเสวนาต่อต้าน และได้มีการยื่นหนังสือฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางในปี 2561 และศาลก็ได้รับฟ้องในปีถัดมา ในขณะที่กทม.ก็ยังคงพยายามเดินหน้าโครงการอยู่อย่างต่อเนื่อง จนในวันที่ 5 ก.พ. 2563 ที่ผ่านมาได้มีการประกาศมาตราการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว ระงับการดำเนินการโครงการจนกว่าจะมีคำพิพากษาออกมา
Link Download
คำสั่งศาล
Link Download
คำสั่งศาล
ทำไม ศาลถึงสั่งระงับโครงการเลียบแม่น้ำ?
1. ผิดพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร

ถึงแม้ว่าอาคารเพื่อสาธารณะประโยชน์จะไม่ต้องขออนุญาตในการก่อสร้าง แต่เมื่อมีการดำเนินการ ไม่ว่าจะรื้อถอน ดัดแปลง เปลี่ยนแปลงอะไร จำเป็นต้องแจ้งและส่งแบบผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่เมื่อกทม. ไม่ได้ส่งแบบที่ให้ม.ลาดกระบังทำมากว่า 7 เดือนให้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ศาลปกครองจึงมองว่าโครงการเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาจึงน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่แล้วเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ว่ามานี้คือใครบ้างล่ะ?
1. นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล 2. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3. ประธานคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล 4. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับเขตกรุงเทพมหานคร 5. นายกเมืองพัทยา สำหรับเขตเมืองพัทยา 6. ผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนดสำหรับในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
กทม.ทำแล้วต้องแจ้ง กทม.เองหรือ?
1. นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล 2. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3. ประธานคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล 4. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับเขตกรุงเทพมหานคร 5. นายกเมืองพัทยา สำหรับเขตเมืองพัทยา 6. ผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนดสำหรับในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
กทม.ทำแล้วต้องแจ้ง กทม.เองหรือ?
2. ผิดกฎกระทรวงฉบับที่ 63 ที่ออกตามพ.ร.บ.น่านน้ำ

ตามความเข้าใจปกติการก่อสร้างอาคาร หรือดำเนินการใดใดที่ข้องเกี่ยวกับแหล่งน้ำ ต่างอยู่ในความรับผิดชอบของกรมเจ้าท่า ในขณะที่ศาลปกครองเห็นแย้งตามกฎหมาย ด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 63 (พ.ศ.2537) ว่าไม่ใช่ทุกสิ่งก่อสร้างที่ล่วงล้ำแม่น้ำ กรมเจ้าท่าจะอนุญาตได้ แต่หากมีหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาอยู่ โดยมีสิ่งที่โครงการเลียบแม่น้ำเจ้าพระยานี้อาจขัดต่อกฎหมายตัวนี้อยู่ ทำให้การกล่าวอ้างของกทม.ที่ว่าผ่านการอนุญาตจากกรมเจ้าท่าแล้ว เป็นการอนุมัติที่ไม่เห็นชอบด้วยกฎหมาย
โดยมีใจความดังต่อไปนี้
โดยมีใจความดังต่อไปนี้
- 1. สิ่งปลูกสร้างนั้นต้องไม่ต้องเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ กิจกรรมทางน้ำ และระบบนิเวศน์
- 2. สิ่งปลูกสร้างนั้นสามารถล้ำแม่น้ำได้ เท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ของสิ่งปลูกสร้างนั้น
- 3. จะต้องไม่เป็นสิ่งปลูกสร้างที่ขัดต่อพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
3. ผิดกฎหมายผังเมือง ว่าด้วยพื้นที่โล่ง
ตามกฎหมายผังเมืองรวมกทม. ข้อ 40 วรรคที่ 2 ในส่วนของพื้นที่โล่ง ได้กำหนดให้อาคารที่จะปลูกสร้างนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์เพื่อการคมนาคม และขนส่งทางน้ำแล้ว จะต้องเป็นอาคารเพื่อสาธารณประโยชน์และต้องไม่กระทบต่อการใช้ประโยชน์ในแหล่งน้ำสาธารณะร่วมกันของประชาชน
แต่โครงการนี้ศาลปกครองกลางมองว่าอาจกระทบ 2 ส่วนด้วยกัน
- เจ้าของที่ดินริมน้ำเจ้าพระยา โดยหากมองตามกลุ่มสมัชชาแม่น้ำที่เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงของโครงการมาตลอด ผลกระทบอย่างแรกต่อเจ้าของที่ดินคือ โครงการนี้อาจเป็นแหล่งมั่วสุ่ม ก่ออาชญากรรม ปล้นและเข้าถึงบ้านริมน้ำนี้ได้ง่ายขึ้น จากเดิมที่เจ้าของได้พื้นที่บ้านที่เป็นส่วนตัว ก็ถูกผูกติดกับเส้นทางสาธารณะขนาดใหญ่ที่ใครก็ต่างเข้าถึงได้โดยง่าย อย่างที่สองคือ ทัศนียภาพทั้งตัวเจ้าของบ้าน และผู้ที่มองเข้ามาเอง ต่างก็ถูกบดบังด้วยทางเดินริมน้ำนี้ อย่างสุดท้ายคือ การสะสมของขยะใต้ทางเดิน ที่อาจส่งกลิ่นเหม็นรบกวนผู้อยู่อาศัยริมน้ำ และทำให้น้ำเน่าเสีย
- การเดินเรือ เนื่องจากโครงการนี้ส่งผลให้ลำน้ำแคบลง 18.8% ซึ่งทำให้การจราจรทางน้ำมีความแออัดมากขึ้น เรือใหญ่นอกจากจะต้องเบี่ยงทางน้ำตื้นแล้ว ยังต้องชะลอความเร็วระมัดระวังเรือเล็กที่ไม่สามารถเดินเรือใกล้ตลิ่งได้อย่างปกติด้วย
4. กระทบโบราณสถานริมน้ำ

นอกจากจะขัดต่อกฎหมาย ตามที่ว่ามาทั้งหมดแล้ว โครงการทางเดินเลียบแม่น้ำเจ้าพระยานี้ ศาลปกครองกลางยังมองว่า อาจเป็นการก่อสร้างอาคารที่จะมีผลกระทบต่อการศูนย์อัตลักษณ์ของโบราณสถานริมน้ำ ซึ่งจากการสำรวจของกรมศิลปากร เพียงเฟส 1 นี้ก็มีอยู่ด้วยกันถึง 24 แห่งเลยทีเดียวที่ขึ้นทะเบียนจัดเป็นโบราณสถานแล้ว
หลากลายเส้นเสียงสะท้อนทางเลียบริมเจ้าพระยา


เปิดสัญญาจ้างที่ปรึกษาเพื่อสำรวจ ออกแบบและจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาริมน้ำเจ้าพระยา 57 กม. ได้ลงนามในสัญญากับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้วงเงิน 120 ล้านบาท
พื้นที่นำร่องสองฝั่งรวม 14 กม. จากสะพานพระราม 7 ถึงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า แนวคิดหลัก “เจ้าพระยาเพื่อทุกคน” (Chao Phraya for All)
นอกจากนี้ยังมีเสียงสะท้อนชี้ให้ทบทวนการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำทั้ง ภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา, กลุ่ม Friends of The River หรือ FOR รวมถึง Change.org ในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อรณรงค์ให้ยับยั้งการสร้างทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา 14 กม.
และล่าสุดจะมีการเสวนาในหัวข้อ “River’s Voices Forum เสียงของทุกคน อนาคตของแม่น้ำ” เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์แห่งแม ่น้ำโดยพลเมือง ในวันที่ 30 เม.ย. 59
ข้อมูลเบื้องต้น
ระยะทาง
โครงการทั้งหมด ระยะทาง 57 กม.
เริ่มตั้งแต่ สะพานพระราม 7 ถึง สุดเขตกรุงเทพมหานคร
– ฝั่งตะวันออก ประมาณ 36 กม.
– ฝั่งตะวันตก ประมาณ 21 กม.
โครงการระยะแรก
สะพานพระราม 7 – สะพานพระปิ่นเกล้า
สองฝั่งรวม 14 กม.
– โค้งน้ำส่วนที่แคบที่สุด
สวนสันติชัยปราการ 206 ม.
– โค้งน้ำช่วงที่กว้างที่สุด
วัดราชาธิวาชวรวิหาร 383 ม.
งบประมาณ
งบประมาณทั้งหมด 30,000 ลบ.
งบประมาณระยะแรก 14,000 ลบ.
แบ่งเป็น
– งบควบคุมการก่อสร้าง 18 เดือน
– ค่าชดเชยรับฟังความคิดเห็น
– ค่าที่ปรึกษาออกแบบ 120 ลบ. ประกอบด้วย
1. ค่ารายงานแผนดำเนินงาน 24 ลบ. (20%)
2. ค่าจัดทำแผนแม่บทและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 84 ลบ. (80%)
3. รายงานฉบับสมบูรณ์ 12 ลบ. (10%)
สิ่งก่อสร้างเขตโครงการ
ศาสนสถาน 8 แห่ง
สถานที่สำคัญ 19 แห่ง
สถานที่ราชการ 8 แห่ง
โรงเรียน 8 แห่ง
ท่าเรือ 36 แห่ง
ร้านอาหาร 6 แห่ง
ชุมชนรุกล้ำ 29 แห่ง
ภาพรวมพื้นที่แผนแม่บทโดยสังเขป
เรียบเรียงโดย REALIST – คลิกที่สี่เหลี่ยมด้านซ้ายบนของแผนที่เพื่อเปิด Side Bar เลือกดูชั้นข้อมูลสะพาน, เส้นทางโครงการ และเส้นทางรฟฟ. – ด้านล่างสุดภายใน Side Bar Map สามารถคลิกเพื่อเปลี่ยน Map Background ได้ – แผนที่สามารถขยายได้เพื่อดูตำแหน่งโดยละเอียด ทางเลียบเจ้าพระยาความคืบหน้าจากรัฐบาล

Image : www.buildernews.in.th 4 เม.ย. 59
เปิดสัญญา 120 ล้าน กทม.จ้างออกแบบแลนด์มาร์คเจ้าพระยา
สัญญาจ้างที่ปรึกษาเพื่อสำรวจ ออกแบบและจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาริมน้ำเจ้าพระยา ที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ลงนามในสัญญากับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้วงเงิน 120 ล้านบาท โดยมีรายงานว่า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจะรับผิดชอบงานออกแบบโครงสร้าง ขณะที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นรับผิดชอบงานศึกษาและทำรายงานเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

กำหนดเงื่อนไข – ที่ปรึกษาต้องออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรมตามแบบมาตรฐานของ กทม. แต่ที่ปรึกษาอาจแนะนำหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยต้องได้รับความเห็นชอบจาก กทม.ก่อน ทั้งนี้ ที่ปรึกษายังต้องดำเนินงานตามมติของคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวกับโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
การสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชน – ที่ปรึกษาต้องจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่โครงการ รวมทั้งให้ข้อมูลข่าวสารในเชิงลึกแก่กลุ่มแกนความคิดในชุมชน ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อรับทราบถึงปัญหา และชี้แจงให้เข้าใจถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ก่อนสรุปรวบรวมคิดเห็นทั้งหมด และนำมาพิจารณาแก้ไขปรับปรุงแบบให้เหมาะสมต่อไปหากมีการก่อสร้างในอนาคต
ทั้งนี้ กทม.แบ่งการจ่ายเงินให้กับที่ปรึกษา ตามความคืบหน้าของโครงการ ซึ่งแบ่งเป็น
– รายงานแผนดำเนินงาน 20% หรือราว 24 ลบ.
– ค่าจัดทำแผนแม่บทและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 70% หรือราว 84 ลบ.
– รายงานฉบับสมบูรณ์ 10% หรือราว 12 ลบ.
ข้อมูลข่าว : เนชั่น 2 เม.ย. 2559 18:14

สจล. ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาริมฝั่งเจ้าพระยา ชูแนวคิด Chao Phraya for All
– เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับประชาชนทุกคน – ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและชุมชนให้ยั่งยืน – การอนุรักษ์วิถีและวัฒนธรรมริมน้ำ – ส่งเสริมการใช้พื้นที่ในรูปแบบที่หลากหลาย – เชื่อมโยงให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ในระดับชุมชนและสังคม – พัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียและการระบายน้ำ – ส่งเสริมประสิทธิภาพการป้องกันน้ำท่วม – แก้ปัญหาการรุกล้ำด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และเคารพสิทธิ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป้าหมายการดำเนินโครงการ ตามกรอบระยะเวลา 7 เดือน ปี 59

โครงสร้างการทำงานแบ่งออกเป็น 9 ส่วน คือ ด้านสถาปัตยกรรมและผังเมือง, ด้านชลศาสตร์และอุทกวิทยา, ด้านวิศวกรรม, ด้านสิ่งแวดล้อม, ด้านวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ, ด้านประชาสัมพันธ์, การมีส่วนร่วมของประชาชน, ด้านกฎหมาย และด้านเศรษฐศาสตร์
– เริ่มจากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน รวม 32 ชุมชน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม สำหรับระยะนำร่อง 14 กม.
– ส่วนการจัดทำแผนแม่บทระยะ 43 กม.ที่เหลือ จะลงชุมชนทั้งหมด 13 เขต ไม่นับรวมกับสถานที่สำคัญในพื้นที่
– ทีมงานการมีส่วนร่วมได้วางแผนเข้าพบเพื่อหารือถึงแนวทางการพัฒนาแยกจากการลงชุมชน เช่น สถานที่ราชการ ศาสนสถาน หรือสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมจะทำควบคู่ไปกับกระบวนการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
– มีการลงชุมชนทุกเดือนอย่างต่อเนื่องเพื่อร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ ชี้แจงความคืบหน้า พัฒนา และออกแบบไปร่วมกัน
ทั้งนี้อยู่ในช่วงที่คณะทำงานด้านการมีส่วนร่วมได้เริ่มดำเนินการลงพื้นที่สำรวจและพบปะพูดคุยกับชุมชน 4 เขต ได้แก่ เขตบางซื่อ, เขตพระนคร, เขตบางพลัด และเขตดุสิต ในพื้นที่นำร่อง 14 กม. เป็นการประชุมเพื่อหารือกับผู้นำชุมชนเพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงการ และพร้อมให้ความร่วมมือในการลงพื้นที่สำรวจลักษณะทางกายภาพและช่วยกันสรุปข้อมูลปัญหาในชุมชนต้องการปรับปรุงพัฒนา ส่วนชุมชนที่รุกล้ำแม่น้ำอยู่ระหว่างกระบวนการเยียวยา โดยมี กทม. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องการย้ายที่อยู่อาศัย
ข้อมูลข่าว : ประชาชาติธุรกิจ 26 มี.ค. 59 12:32



PRESENTATION
Youtube : ThaiPBS เผยแพร่เมื่อ 30 มี.ค. 2016 Youtube : Friends of River เผยแพร่เมื่อ 20 ม.ค. 2016. . .
เสียงสะท้อนชี้ให้ทบทวนการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ

1. ภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา
ภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของสถาบันภาคการศึกษาด้านการผังเมือง ประกอบด้วย ผังเมืองจุฬาฯ ผังเมืองธรรมศาสตร์ ผังเมืองเกษตรศาสตร์ ผังเมืองศิลปากร และเครือข่ายสถาปนิก นักสิ่งแวดล้อมและชุมชน ได้แก่ มูลนิธิโลกสีเขียว สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมอิโคโมสไทย เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมริมน้ำเจ้าพระยา ศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ธนบุรี และเครือข่ายภาคประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการฯ เสนอต่อรัฐบาลให้ทบทวนโครงการพัฒนาริมน้ำระยะแรก
โดยสรุปผลการพิจารณาข้อดีและข้อเสียดังนี้



ข้อดี
1. การเพิ่มพื้นที่สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยการก่อสร้างทางเท้ากว้าง 7 เมตร ตลอดทาง 7 กิโลเมตร เลียบ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และลานกิจกรรมซึ่งเป็นที่โล่งที่มีทัศนียภาพงดงามและจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพื้นที่สาธารณะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจในเขตบางซื่อ เขตดุสิต และเขตบางพลัดของกรุงเทพฯ 2. การเพิ่มเส้นทางการสัญจรทางเท้าและทางจักรยานโดยการก่อสร้างทางเท้ากว้าง 7 เมตรและทางจักรยานกว้าง 7 เมตร เป็นระยะทาง7 กิโลเมตร เลียบ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จะเพิ่มทางเลือกของการสัญจรที่มีความสะดวก ปลอดภัย และไม่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียงและประชาชที่เดินทางเข้า-ออก.ระหว่างเขตชั้นในและเขตชั้นนอกของกรุงเทพฯและนนทบุรี 3. การแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยการก่อสร้างทางเลียบ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จะรื้อถอนอาคารและสิ่งก่อสร้างที่บุกรุกและจะช่วยป้องกันการบุกรุกพื้นที่ริมฝั่งแม่นน้ำเจ้าพระยาที่จะเกิดขึ้นต่อไป . .ข้อเสีย
1. การเกิดผลกระทบต่อชุมชนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยการก่อสร้างทางเลียบ 2 ฝั่ง.แม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีระดับถนน +2.8 เมตร และระดับสันพนังป้องกันน้ำท่วม+3.25 เมตร จะบดบังช่องเปิด หรือประตูและหน้าต่างของอาคารและพื้นที่ว่างสาธารณะชุมชน ตลอดแนวทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีระดับพื้นดินโดยเฉลี่ยประมาณ +1 เมตร 2. การกีดขวางการไหลของน้ำเจ้าพระยาและผลต่อปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ตอนบนโดยที่โครงส้รางของทางเลียบ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีความกว้างด้านละ 19.5 เมตร จะลดทอนความสามารถในการระบายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นผลให้เกิดปัญหาอุทกภัยที่เพิ่มมากขึ้นในเขตกรุงเทพฯตอนบนและจังหวัดนนทบุรี 3. การปรับแปลงเป็นถนนเพื่อการสัญจรทางรถยนต์ โดยที่ทางเลียบ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีการออกแบบให้มีทางจักรยานกว้าง 7 เมตร ทางเท้ากว้าง 7 เมตร และ ส่วนที่มีลักษณะคล้ายเกาะกลางถนน กว้าง 3 เมตร เป็นการออกแบบที่แฝงเจตนารมณ์ของการปรับเปลี่ยนเป็นถนนเพื่อการสัญจรทางรถยนต์ขนาด 4 ช่องจราจร ต่อไปในอนาคต การปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อชุมชน ตลอดจนอาคารและสิ่งก่อสร้างตลอดแนวทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในอนาคต 4. การสิ้นเปลืองงบประมาณการพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งของกรุงเทพมหานคร โดยทางเลียบ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีแนวขนานกับสายทางระบบขนส่งมวลชนทางรางสายสีน้ำเงิน (ท่าพระ-บางซื่อ) ซึ่งอยู่ในระหว่าการก่อสร้าง และสายทางระบบขนส่งมวลชนทางรางสายสีม่วง (เตาปูน-ราษฏร์บูรณะ) ซึ่งอยู่ในแผนการก่อสร้างระยะต่อไป ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาจึงมีแนวทางที่ซ้ำซ้อนและไม่สามารถใช้เป็นระบบเสริม (Feeder System) ให้แก่ระบบขนส่งมวลชนทางรางดังกล่าว 5. การสิ้นเปลืองบุคลากรและงบประมาณในการดูแลและบำรุงรักษาโดยที่ทางเลียบ 2 ฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยามีพนังป้องกันน้ำท่วมสูง+ 3.25 เมตร ปิดกั้นการเข้าถึงและการมองเห็นจากชุมชนตลาดแนวทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาดังกล่าว จึงอาจเป็นแหล่งอาชญากรรม การซื้อ-ขายยาเสพติด การอยู่อาศัยของผู้ไร้บ้าน การแข่งจักรยานยนต์ ฯลฯ ซึ่งทำให้บุคลากรและงบประมาณในการดูแลและบำรุงรักษาเป็นอย่างมาก 6. การสูญเสียทัศนียภาพการตั้งถิ่นฐานและชุนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาโดยที่ทางเลียบ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำเจ้าพระยาจะบดบังทัศนียภาพการตั้งถิ่นฐานซึ่งประกอบด้วยวัง วัด และชุมชนที่ตั้งเรียงรายตลอดแนว 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเป็นการสูญเสียรูปแบบการตั้งถิ่นฐานซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพมหานครที่ได้มีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน. . .
เหตุผลในการคัดค้านรูปแบบของโครงการ
ถึงแม้ว่าทางภาคีพัฒนาริมพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา มีความยินดีที่คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นพื้นที่สาธารณะของกรุงเทพฯ โดยภาคีพัฒนาริมพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา ขอแสดงความคัดค้านรูปแบบของโครงการฯ เนื่องด้วย
.

1. มีโครงสร้างขนาดความกว้างถึง19.50 เมตร และเป็นพื้นที่ดาดแข็ง
ขนาดใหญ่ จะสร้างให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม
นิเวศวิทยา อุทกศาสตร์ของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งภูมิทัศน์วัฒน-
ธรรมของพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างแน่นอน และไม่สามารถ
หวนคืนได้
2. มีรูปแบบมาตรฐานเป็นรูปแบบเดียวตลอดความยาวสองฝั่งแม่น้ำ
ในบริเวณที่จะทำการก่อสร้างทั้งหมด14.00กิโลเมตร ขาดความ
เชื่อมโยงต่อภูมิสัณฐานของตลิ่ง โครงข่ายการสัญจรของเมือง
รวมทั้งรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้า-
พระยาที่มีความหลากหลายโดยเฉพาะบางบริเวณเป็นวัดและ
ชุมชนเก่าที่มีเอกลักษณ์
3. ขาดการศึกษาผลกระทบด้านต่างๆ และการวิเคราะห์งบประมาณ
อย่างเหมาะสม
ทางภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน้ำทำข้อเสนอแนะ
ทางภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน้ำทำข้อเสนอแนะเชิงหลักการด้านผังเมืองของการออกแบบพื้นที่สาธารณะริมน้ำ

1. โครงสร้างทางริมแม่น้ำเจ้าพระยาควรมีขนาด รูปแบบ และประโยชน์
ใช้สอยอย่างหลากหลายเหมาะสม สอดคล้องต่อเนื่องกับประโยชน์
การใช้งาน ของพื้นที่ริมฝั่งด้านใน ไม่ควรเป็นรูปแบบมาตรฐานเดียว
กันตลอด หากผ่านชุมชนเก่า ก็ลดขนาดความก้างให้พอดีเป็นทาง
เดินพอใช้สอย หากผ่านหน้าสถานที่ราชการ ก็ไม่จำเป็นต้องสร้าง
ยื่นไปในแม่น้ำ แต่อาจกินเนื้อที่มาบนบก กระทั่งขยายขนาดกลาย
เป็นสวนริมน้ำก็ยังได้ หรือ หากเป็นอาคารราชการที่ต้อง.รักษา
ความปลอดภัย เช่น รัฐสภา ทางเดินควรอ้อมหลังแทน หากผ่าน
พื้นที่เอกชนก็อาจขอความร่วมมือสร้างเข้ามาเป็นลานกิจกรรมใน
พื้นที่ ฯลฯ เป็นต้น
2. โครงสร้างอาจอยู่ริมแม่น้ำ หรือ วกเข้ามาด้านในก็ได้แต่ต้องบูรณา
การกับเส้นทางสัญจร เช่น ตรอก ซอย ถนน รวมทั้งพื้นที่สาธารณะ
เดิมชุมชน เพื่อให้พื้นที่ริมน้ำต่อเนื่องกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครง
ข่ายการสัญจร ของเมืองให้ได้ การนี้ จะทำให้พื้นที่ถูกการันตีว่า
มีการเข้าใช้งานตลอดเวลา เพื่อความปลอดภัย หรือ Eyes on
Spaces สายตาเฝ้าะวังจากคนในพื้นที่เอง
3. โครงสร้างทางริมน้ำฯ ควรถูกออกแบบควบคู่ไปกับโครงสร้าง
รอยต่อสัณฐานตลิ่ง อย่าให้สูงจนบังกั้นในลักษณะกำแพงหรือถ้า
ต้องสูง ควรมีชั้นเชิงถอยร่นอย่างค่อยลาดขึ้นทีละนิด จึงเป็น
เหตุผลที่สำคัญกว่า การออกแบบพื้นที่ริมน้ำจะไม่มีประโยชน์
อันใดเลย หากขาดแผนการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ต่อเนื่องด้านใน
ควบคู่ไปด้วยพร้อมกัน
2.Friends of The River

นอกจากนี้ยังคงมีเสียงสะท้อนชี้ให้ทบทวนการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ
อย่างรอบคอบ เพื่อประโยชน์ที่ยั่งยืน โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์
เเฟนเพจเฟสบุ๊คที่มีชื่อว่า Friends of River เพื่อรับฟังความคิดเห็น
โดยแสดงจุดยืน อยากให้คิดทบทวนถึงการสร้างทางเดินริมน้ำ
ซึ่งระบุว่า แม่น้ำเจ้าพระยาในอดีตและในความทรงจำมีวิถีชีวิต
ริมน้ำภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ได้ตายจากสังคม
ไทยไปนานแล้วด้วยเขื่อนคอนกรีต มันจะ ” ตายเป็นครั้งที่สอง ”
ด้วยทางด่วนเลียบแม่น้ำที่กำลังจะเกิดขึ้นควรจะใช้มันเป็น
” โอกาส “ ที่จะเยียวยาแม่น้ำและวิถีชีวิตทั้งยังต้องตั้งโจทย์
ที่ไกลกว่าเรื่องทางเดินริมน้ำ

ซึ่งการทำงานของกลุ่ม Friends
of River จากการหารือกับกลุ่ม
สถาปนิก ชุมชน ASA CAN
จะแบ่งพันธกิจออกเป็น 4 ด้าน
1. ด้านนโยบายเพื่อรณรงค์ให้
…เก ิดการทำงานให้สัมพันธ์
…สอดคล ้องกับบริบทในพื้นที่
2. ด้านวิชาการ เพื่อสร้างความ-
…รู้ให้สังคมผ ่านข้อเสนอที่เป็น
…ผลจากการค ้นคว้าวิจัยในด้าน
…ต่างๆทั้ง ภูมิสถาปัตยกรรม
…วิศวกรรมสิ่ งแวดล้อม
…เศรษฐศาสตร์
3. ด้านสื่อสารสาธารณะเพื่อ
…ย่ อยข้อมูล( graphic )และ
…เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ
4. ด้านเครือข่ายเฝ้าระวัง เพื่อ
…เชื่อมโยงภาคประชาชนใน
…พ ื้นที่
5. ด้านสร้างเครือข่ายเพื่อเชื ่่อม
…โยงภาคีที่เคลือนไหวในกา ร
…พัฒนาพื้นที่ริมน้ำ
Sketchs for the River Challenge
ทางกลุ่ม Friends of the River ได้มีการจัดกิจกรรม Sketchs for the River Challenge ซึ่งแฟนเพจจะเข้าร่วมสนุกได้โดยการส่งต่อคำท้าไปยังคนรอบข้าง “อย่างน้อย 3 คน” ให้ร่วมส่ง “แบบร่างแนวคิด” ในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะริมแม่นำ้เจ้าพระยาในฝัน ภายใน 7 วัน แล้ว hashtag มาที่ #friendsofriverchallenge และทาง Realist ได้มีการรวบรวมตัวอย่างผลงานของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาให้ได้รับชมกัน . . .ผลงานคุณ Yossapon Boonsom



ผลงานคุณ Aom Arch

Spirit Of Context
โดยแนวคิดของผมคือให้ความ-
สำคัญกับพื้นที่ ที่จะเสียไปกับ
การก่อสร้าง จึงมีแนวคิดที่จะ
ทำอย่างไร ที่จะเสียพื้นที่แม่น้ำ
ให้น ้อยที่สุด แต่ได้ประโยชน์
จากพื้นที่ที ่เสียไปให้มากที่สุด
จึงใช้บริบทของพื้นที่นั้นๆ เป็น
ตัวกำหนดทั้งขนาดและกิจกรรม
เพื่อให้บริบทนั้นส่งเสริมก ิจกรรม
ได้มากที่สุด
Design
-Space ที่ได้ คือ พื้นที่ริมน้ำที่
.ลักษณะยื่น เข้าออก เว้าไม่
.เท่ากัน ตลอดทั้งแนว แล้วแต่
.ลักษณะแวดล้อมบริเวณ นั้น
.เป็นตัวกำหนด
– Activity จัดกิจกรรม สอด-
.คล้องกับบริบทของพื้นที่นั้นๆ
.เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงแล ะ
.การสนับสนุนของคนในพื้นที่
.สิ่งที่ได้คือ กิจกรรมที่หลาก-
.หลายไปตลอดทั ้งแนว
ผลงานคุณ Korkiat Kittisoponpong

1. Waterfront ในแต่ละจุดนั้น
…น่าจะมี reaction กับน้ำที่
…แตกต่างกันออกไป เพื่อให้
…คนเรียนรู้วิถีของน ้ำ
– บางจุดก็อาจจะเป็นเขื่อนที่
..ค่อนข้างสูงได้
– บางจุดเป็น slope หรือ step
..ที่ไหลลงไปถึงน้ำให้คนมา
..สัม ผัสกับน้ำได้ เรียนรู้จาก
..คราบน้ำได้ถึงกา รที่น้ำขึ้นลง
– บางส่วนเป็นพื้นที่ในลักษณะ
..เดียวกับโป๊ะ ซึ่งคนที่ใช้พื้นที่
..จะสามาร ถสัมผัสถึงบรรยา-
..กาศของน้ำได ้ในระยะที่
..ค่อนข้างใกล้ไม่ว ่าน้ำจะขึ้น
..หรือว่าลง เป็นต้น
..โดยในแต่ละประเภทนั้นก็ยัง
..ส ามารถแบ่งขนาดความกว้าง-
..ยาว หรือรูปทรงให้แตกต่างกัน
..ไปต ามการใช้สอยและบริบท
..ที่เหมา ะสมได้
ผลงานคุณ Pocco Kobkongsanti

Park NETwork เเบบไวๆ
ทางเดินเเละพื้นที่ใช้งานถู ก’สาน’อยุู่บนโครงสร้าง
ที่สําคัญ ไม่ได้มีระนาบเดียว เเต่สามารถมีได้อย่างน้อยๆ 3 ระดับ ตามเเต่พื้นที่จะเอื้ออํานว ย



ผลงานคุณ Jun Jun Sekino

สนใจพื้นที่ปริ่มๆน้ำ แห้งบ้างเปียกบ้าง ทำไรได้มากกว่าสิ่งก่อสร้าง มีพื้นที่ให้อะไรๆโตได้ด้วย ตัวเอง self organization
– เตะเบาๆ คลื่นแรง รอแรงกระแทกสองชั้น น้ำยังไหลวน เกินตะกอน ปลูกต้นไม้ได้ระยะยาว สามารถเป็นเขื่อนเคสน้ำหลาก ได้ between layer ทำหน้าที่เป้นเขื่อนของเมือ ง เป็นสวนของคน เป็นดินให้ต้นไม้ อีกมากมาย
– รื้อถอนง่ายใช้เงินน้อย รบกวนพื้นที่เดิมติดน้ำให้น ้อยสุด ทำลายน้อยสร้างน้อย
– มองเห็นสิงก่อสร้างน้อย เขียวเยอะๆ skyline มองข้ามฝั่งมาเจอปาติดน้ำ ต้นไม้บางชนิด เมื่อก่อนริมเจ้าพระยามีมาก มาย ตอนนี้หายไป เราให้เขากลับมาใหม่
– ทางคนเดิน จักยานวิ่งได้ โครงสร้างเบาๆ ไม่ต้องรับโหลดขนาดนั้น(แบบ ที่เห็นในFacebook) คนต้องการร่มเงาจากต้นไม้ ลมโชยจากแม่น้ำ
– มี flyover จากฝั่งไปถึงเป็นจุดลงเรือไ ด้
-รูปแบบ ต่างปรับเปลี่ยนได้ทุกสิบปี
ผลงานคุณ Varudh Varavarn

การพัฒนา ที่เป็นตัวของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องเหมือนฝรั่งเขา เพราะบ้านเรามันร้อน เน้นต้นไม้เยอะๆ พื้นที่ flexible สามารถปรับเปลี่ยน ตัดต่อ ได้ตามลักษณะของวิถีชีวิตริมน้ำที่หลากหลายแบบไทยๆ



3. Change.org

งานเสวนาครั้งล่าสุด

River’s Voices Forum เสียงของทุกคน อนาคตของแม่น้ำ 30 เม.ย. 59
กลุ่ม Friends of the River (FOR) ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนงานเสวนาที่ผ่านมา

ลงเรือลำเดียวกัน 27 มี.ค. 59
กิจกรรมจาก Friends of the River ร่วมรับชมทัศนียภาพริม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนจะเปลี่ยนไปจากโครงการทางเลียบแม่น้ำ 14 กม. จาก The Jam Factory คลองสาน มายัง วัดคฤหบดี ชุมชนบ้านปูน
พบกับคุณสุดารา สุจฉายา (มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์) บรรยายเรื่องประวัติศาสตร์ย่านพื้นที่ริมน้ำอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย และ คุณยศพล บุญสม (Friends of the River) เล่าเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบบริเวณพื้นที่ริมน้ำจากการก่อสร้างโครงการทางเลียบแม่น้ำ 14 กม.ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
