บัตรเเมงมุม เริ่มใช้ ตุลาคม 2560 นี้


สนข.ดำเนินงานพัฒนาระบบตั๋วร่วม ในชื่อ “บัตรแมงมุม” เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อการเดินทางทุกรูปแบบทั้ง ทางด่วน รถเมล์ เรือโดยสาร รถไฟ, รถไฟฟ้า BTS, Airport rail link, MRT ให้กับประชาชนด้วยบัตรเพียงใบเดียวเเละยังสามารถใช้จ่ายนอกภาคการขนส่ง เช่น ร้านสะดวกซื้ออีกด้วยครับ
สัดส่วนผู้ถือหุ้นประกอบด้วยภาคเอกชน 60% ได้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เเละ ภาครัฐ 40% ได้เเก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และธนาคารกรุงไทย
นอกจากนี้ ระบบตั๋วร่วมยังได้ออกแบบให้รองรับกับระบบการจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ภายใต้โครงการระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ(National e-Payment) ของรัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง
ประเภทเเละรูปแบบการใช้งานบัตรเเมงมุม
บัตรเเมงมุมเเบ่งประเภทผู้ถือบัตรออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้เเก่ 1. บุคคลทั่วไป สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป สามารถซื้อบัตรได้ตามจุดจำหน่ายของผู้ให้บริการหรือสถานที่จำหน่ายตัวเเทนผู้ให้บริการ 2.ลงทะเบียน สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการร่วมใช้สิทธิของบัตรโดยต้องลงทะเบียนเพื่อใส่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือบัตรเข้าไปในระบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลระบุตัวตนเจ้าของบัตร ซึ่งผู้ถือบัตรจะได้รับสิทธิต่างๆตาที่กำหนด เช่น สามารถเเจ้งระงับการใช้บัตรหรือขอคืนมูลค่าเงินคงเหลือในบัตรได้กรณีบัตรหาย 3.ส่วนบุคคล ออกเเบบสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานหรือองค์กรเฉพาะเพราะจะมีการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลในระบบเเละในบัตร รวมทั้งจะมีการพิมพ์ลายหรือรูปที่ต้องการลงบนตัวบัตร ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์เป็นเเบบต่างๆได้ เช่นบัตรพนักงาน ประเภทลงทะเบียนเเละส่วนบุคคลจำเป็นที่ผู้ถือบัตรต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อจัดเก็บในศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางสำหรับการใช้ระบุตัวตนในการใช้บริการเพื่อรับสิทธิพิเศษหรือบริการที่กำหนดไว้สำหรับบัตรเเต่ละประเภทครับ เเละในเเต่ละประเภทของผู้ถือบัตรสามารถกำหนดประเภทย่อยของบัตรได้สูงสุดถึง 64 ประเภทด้วยกัน เช่น ประเภทนักเรียน ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้มีรายได้น้อย นักท่องเที่ยว เป็นต้น
อัพเดต!! ระยะเวลาเริ่มเปิดให้บริการขนส่งในเเต่ละประเภท (ข้อมูล ณ วันที่ 10 เมษายน 2560)

รายงานข่าวแจ้งว่า นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ได้ให้ผู้เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อให้เปิดใช้ระบบตั๋วร่วมได้ตามนโยบายในเดือน มิ.ย.นี้ โดยตามแผนงานนั้นต้องการให้เปิดใช้กับรถไฟฟ้า 4 สายในปัจจุบันก่อนเป็นกลุ่มแรก รวมถึงรถเมล์ และทางด่วน
กลุ่มที่ 2 เป็นรถไฟฟ้าสายใหม่ ใช้ได้ทันทีเมื่อเปิดให้บริการ
และกลุ่มที่ 3 เป็นระบบนอกภาคขนส่ง เช่น ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ธนาคารต่างๆ ที่ผู้ถือบัตรจะสามารถเข้าไปชำระเงินหรือเติมเงินได้สะดวก โดยได้มีการหารือกับเครือเซ็นทรัลและซีพีเบื้องต้นแล้ว ซึ่งส่วนนี้หากติดระบบจะสามารถใช้งานได้ทันทีเช่นกัน
ความคืบหน้ารถไฟฟ้า 10 เส้นทาง (ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2560)
