กรุงเทพกรีฑา เฮ! กทม.ผุดโครงการคมนาคมเพียบ

ถ.กรุงเทพกรีฑา เป็นถนนที่มีการเชื่อมต่อการคมนาคมได้หลายรูปแบบทั้งถนน ทางด่วน รถไฟฟ้า สามารถเข้าเมืองไปยังย่านธุรกิจด้วยทางด่วนพระราม9-ศรีนครินทร์ ออกนอกเมืองด้วย ถ.วงแหวนตะวันออก สามารถไปสนามบินสุวรรณภูมิด้วยมอเตอร์เวย์ เพียง 20 นาที หรือไปด้วยรถไฟฟ้า Airport Link ที่สถานีหัวหมากและสถานีด่านทับช้าง
ถ.กรุงเทพกรีฑาถือเป็นทำเลแห่งอนาคต มีโครงการก่อสร้างถนนและรถไฟฟ้าหลายโครงการ อาทิเช่น รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง จะมีสถานีศรีกรีฑาอยู่บริเวณปากซอยกรุงเทพกรีฑาตัดกับถนนศรีนครินทร์ ซึ่งเป็นจุดที่จะก่อสร้างทางแยกต่างระดับด้วย อีกทั้งใกล้แหล่งช๊อปปิ้งอย่าง เซ็นทรัล พระราม9, The Ninth, Paradise Park ,The Mall รามคำแหง และ The Mall บางกะปิ เป็นต้น

1. โครงการสร้างถนน “ศรีนครินทร์-ร่มเกล้า” เสร็จปี 60




แหล่งข่าวจากสำนักการโยธา กทม. เปิดเผยว่า เมื่อเดือน ก.ย. 2558 ได้เริ่มก่อสร้าง ถ.ศรีนครินทร์-ร่มเกล้าแล้ว โครงการมีระยะทาง 16 กม. ค่าก่อสร้างอยู่ที่ 5,556.5 ลบ. ซึ่งโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2560 ทั้งนี้เมื่อโครงการสร้างเสร็จจะช่วยการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯโซนตะวันออก และเปิดพื้นที่การพัฒนาใหม่ๆ ได้ โดยการก่อสร้างแบ่งเป็น 7 ตอน ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 – ทางแยกต่างระดับ ถ.ศรีนครินทร์ตัด ถ.กรุงเทพกรีฑา ขนาด 6 ช่องจราจร + ถนนจากศรีนรินทร์ถึงคลองหัวหมาก ขนาด 8 ช่องจราจร วงเงิน 885.7 ลบ. มี บจ.สหการวิศวกรเป็นผู้ก่อสร้าง
ตอนที่ 2 – ทางลอดจากคลองหัวหมาก-คลองลำสาลี ขนาด 4 ช่องจราจร + ถนนคู่ขนาน 980 ม. + ปรับปรุง ถ.กรุงเทพกรีฑา 6 ช่องจราจร 1.2 กม. วงเงิน 934.8 ลบ. มีกิจการร่วมค้า KRR-KRC เป็นผู้ก่อสร้าง
ตอนที่ 3 – ถนน 8 ช่องจราจรจากคลองลำสาลีถึงคลองวัดใหม่ 2.20 กม. + สะพานข้ามคลอง 5 แห่ง วงเงิน 795.8 ลบ.มี บจ.เอ็ม.ซี.คอนสตรัคชั่น (1979) เป็นผู้ก่อสร้าง
ตอนที่ 4 – ถนน 8 ช่องจราจรจากคลองวัดใหม่ถึงวงแหวนรอบนอกตะวันออก 2 กม. + สะพานข้ามคลอง 4 แห่ง วงเงิน 584.4 ลบ. มี บจ.พรรณีวรกิจ ก่อสร้างและขนส่ง เป็นผู้ก่อสร้าง
ตอนที่ 5 – ทางยกระดับข้ามถนนวงแหวนรอบนอกตะวันออก 6 ช่องจราจร + ถนนต่อเนื่อง 1 กม. วงเงิน 584 ลบ. 4 ก่อสร้างโดย หจก.สามประสิทธิ์
ตอนที่ 6 – ถนน 8 ช่องจราจรจากถนนวงแหวนรอบนอกตะวันออกถึงถนนร่มเกล้า 4.86 กม. + สะพานข้ามคลอง 4 แห่งและที่กลับรถใต้สะพาน 4 แห่ง + ที่กลับรถใต้สะพาน 4 แห่ง วงเงิน 885.7 ลบ. ก่อสร้างโดย บจ.บัญชากิจ
ตอนที่ 7 – ทางแยกต่างระดับ ถ.ร่มเกล้ากับ ถ.เจ้าคุณทหาร 6 ช่องจราจร + ปรับปรุง ถ.เจ้าคุณทหาร 8 ช่องจราจร + ปรับปรุงสะพานข้ามคลอง 1 แห่ง วงเงิน 885.7 ลบ. มี หจก.บุรีรัมย์ธงชัยก่อสร้าง
Info : Prachachat Online (29 Nov 2015)
2. ผุดอุโมงค์ลอดพัฒนาการ-รามคำแหง ปี 59
โครงการก่อสร้างทางลอด ถ.พัฒนาการ -รามคำแหง -ถาวรธวัช จะก่อสร้างในแนว ถ.พัฒนาการขนาด 2 ช่องจราจร ยาว 800 ม. ใช้งบ 800 ลบ. ใช้เวลาก่อสร้าง 720 วัน ซึ่งกทม. อยู่ระหว่างหาตัวผู้รับจ้าง โดยจะเริ่มก่อสร้างต้นปี 59
เพื่อช่วยระบายการจราจร ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ ถ.พระราม9 ถ.มอเตอร์เวย์ ถ.พัฒนาการ ให้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดใต้ทางรถไฟ ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบที่เหมาะสม
Info : Dailynews Online (20 Sep 2015)
3. เปิดถนนใหม่ 6 เลนปี 59 เชื่อมถนนพัฒนาการ-สวนหลวงร.9


กทม.เร่งสร้างถนนสายรองเชื่อม ถ.พัฒนาการ – สวนหลวงร.9 แก้ปัญหาศรีนครินทร์รถติดหนัก ยันกลางปี 59 ประชาชนได้ใช้แน่
โครงการเชื่อม ถ.พัฒนาการ-สวนหลวงร.9 ระยะทาง 3.05 กม. ขยายแนว ถ.พัฒนาการจากบริเวณสามแยกพัฒนาการตัด ถ.อ่อนนุช หรือสุขุมวิท 77 ให้ทะลุกลายเป็น 4 แยกถึง ถ.สุขุมวิท 103 (ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9) ขนาด 6 ช่องจราจรไปและกลับพร้อมระบบไฟฟ้าส่องสว่างและท่อระบายน้ำ งบประมาณกว่า 257 ลบ. คืบหน้า 80-90% แล้ว คาดจะเปิดให้ประชาชนใช้งานได้ภายในกลางปี 59
โดยเมื่อเปิดใช้งานปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนศรีนครินทร์และถนนสุขุมวิทบางส่วนจะสามารถบรรเทาลงได้อย่างแน่นอน อีกทั้งถนนเส้นทางดังกล่าวจะเป็นการเปิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบให้มีความเจริญมากขึ้นและเกิดการพัฒนาพื้นที่มากขึ้นด้วย
Info : Dailynews Online (21 Dec 2015)
4. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง


รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) จำนวน 23 สถานี ระยะทาง 30 กม. เป็นโรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณทิศตะวันออกของทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม รวมถึงมีอาคารและลานจอดแล้วจร 1 แห่ง
แนวเส้นทางเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว และสิ้นสุดแนวเส้นทางบริเวณถนนปู่เจ้าสมิงพราย เส้นทางเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสายสีน้ำเงินที่สถานีรัชดา (สถานีลาดพร้าวของสายสีน้ำเงิน) กับระบบขนส่งมวลชน 3 สาย คือ 1.สายสีส้มบริเวณทางแยกลำสาลี 2.รถไฟเชื่อมต่อท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 3.สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง
งบประมาณ 48,600 ลบ. ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการประชุม ทบทวนความเหมาะสมของโครงการ และกำหนดสร้างเสร็จปี 2564
Info : MRTA

CENTRAL RAMA 9

THE NINTH

SEACON SQUARE

PARADISE PARK

KURVE 7

THANYA PARK
กรุงเทพกรีฑา
ม.อัสสัมชัญ

ม.แสตมฟอร์ด

รพ.สมิติเวช





1. แกรนด์ บางกอก บูเลอวาร์ด พระราม 9-ศรีนครินทร์


2. บางกอก บูเลอวาร์ด พระราม 9-ศรีนครินทร์

3. เศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา

