พ.ร.บ.ภาษีมรดก มีผลบังคับใช้ ก.พ. 2559


1. ภาษีกองมรดก (Estate tax)
เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากกองมรดกก่อนแล้วจึงแบ่งทรัพย์สินมรดกตามพินัยกรรม ดังนั้น ผู้ที่มีสิทธิรับทรัพย์สินทุกคนจะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่เท่ากัน ไม่ว่าจะได้รับทรัพย์สินเป็นเงินมากหรือน้อยก็ตาม ประเทศที่ใช้ภาษีกองมรดก เช่น สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ เป็นต้น2. ภาษีการรับมรดก (Inheritance tax)
เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับมรดกแต่ละคน คิดภาษีตามมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้รับ อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับมรดกและผู้ที่เสียชีวิตก็มีผลต่อการคิดอัตราภาษีเช่นกัน ประเทศที่ใช้ภาษีการรับมรดก เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส ไทย(2559) เป็นต้น
นอกจากภาษีมรดกทั้งสองประเภทดังกล่าวแล้ว มักมีการเก็บภาษีอีกประเภทหนึ่งนั่นคือ
ภาษีการรับให้ (gift tax) ควบคู่ไปกับการเก็บภาษีมรดกด้วย ภาษีการให้เป็นภาษีที่จะเรียกเก็บจากทรัพย์สินที่ผู้เสียชีวิตให้แก่ผู้อื่นก่อนเสียชีวิต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษีมรดก โดยทั่วไปจะเรียกเก็บจากทรัพย์สินที่ผู้เสียชีวิตให้แก่ผู้อื่นก่อนเสียชีวิต 5-7 ปี



1. ใครมีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก

2. ทรัพย์สินประเภทใดที่ต้องเสียภาษี
1. อสังหาริมทรัพย์ 2. หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 3. เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน 4. ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน 5. ทรัพย์สินทางการเงินที่กาหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา3. ฐานภาษี (เท่าไหร่ถึงต้องเสีย)
มรดกที่ผู้รับมรดกได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ถ้ามรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีการรับมรดก
4. อัตราภาษี
กรณีที่ 1

5. การยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องยื่นแบบตามที่อธิบดีกำหนดภายใน 150 วัน นับแต่วันที่ได้รับมรดกซึ่งมีมูลค่ารวมเกินกว่า 100 ล้านบาท หรือภายในกำหนดเวลาที่อธิบดีขยายให้ โดยจะยื่นและชำระ ณ สานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ

กำหนดเวลายื่นแบบ : กรณียื่นแบบและชำระภาษีตามกำหนด

กำหนดเวลายื่นแบบ : กรณีผู้เสียภาษีเสียชีวิตก่อนกำหนดเวลายื่นแบบ

6. การคำนวณมูลค่าทรัพย์สิน
กรณีอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้ราคาประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน หักด้วยภาระที่ถูกรอนสิทธิตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในกฎกระทรวง กรณีหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ถือเอาราคาของหลักทรัพย์ในเวลาสิ้นสุดเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์ในวันได้รับมรดก กรณีอื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในกฎกระทรวง7. การประเมินภาษี
กรณียื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนดเวลา (150 วัน) เจ้าพนักงานประเมินต้องประเมินภาษีให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ยื่นแบบ (ขยายได้ไม่เกิน 3 ปี) โดยไม่ให้คิดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มหากมีภาษีที่ต้องเสียเพิ่มและได้ชำระภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง กรณีไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลา เจ้าพนักงานประเมินมีอานาจประเมินภาษีภายใน 10 ปีนับแต่วันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษี8. เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
เบี้ยปรับ – ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเวลาที่กำหนด เสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ – ยื่นแบบ แต่ไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือเท็จ ทำให้ภาษีขาด เสียเบี้ยปรับอีก 0.5 เท่าของภาษีที่เสียเพิ่ม – เบี้ยปรับอาจ งดหรือลดได้ ตามประกาศอธิบดี เงินเพิ่ม – ไม่ชำระภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน – กรณีที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนกาหนดเวลาการชำระภาษี และได้ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่เลื่อนให้นั้น เงินเพิ่มลดลงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อเดือน9. โทษทางอาญา
1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท 2. ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3. ทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 400,000 บาท ผู้มีส่วนในการกระทำความผิดจะได้ รับโทษ 4. จงใจยื่นข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคาอันเป็นเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 5. เจ้าพนักงานแจ้งข้อมูลแก่บุคคลอื่น โดยไม่มีอำนาจกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 สองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

1. ใครมีหน้าที่เสียภาษีการรับให้
