มหาชัยเมืองประมง ดงโรงงาน

จ.สมุทรสาครหรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “มหาชัย” ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย เป็นเมืองแห่งเศรษฐกิจที่มีศักยภาพทั้งด้านอุตสาหกรรม การประมงและเกษตรกรรม ทำให้สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดทั้งมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม(GPP) และรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงตลอดมา ทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจังหวัดเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2558 มหาชัยมีโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์เปิดตัวหลายแห่งเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในจังหวัด
และในปี 2559 มีคอมมิวนิตี้มอลล์แห่งใหม่ล่าสุดใจกลางเมืองมหาชัย คือ
โครงการ Landmark Mahachai (แลนด์มาร์ค มหาชัย) เป็นโครงการ Mixed-use ที่มีทั้งมอลล์และอาคารพาณิชย์อยู่ในโครงการ ได้พื้นที่เช่าจากการรถไฟเป็นเวลา 30 ปี ตั้งอยู่บนถนนนิคมการรถไฟ อยู่ในโซน Prime Area ของมหาชัย ถือเป็นทำเลทองที่น่าจับตามองและน่าลงทุนมากทีเดียว

จังหวัดสมุทรสาครอยู่ในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม การประมง การค้าและการเกษตร
ด้านคมนาคม มีถนนสายหลักสำคัญคือถนนพระราม 2 เชื่อมต่อมาจากกรุงเทพมหานครสู่ภาคใต้ และเนื่องจากสมุทรสาครเป็นเมืองแห่งการประมงทำให้มีการสัญจรทางน้ำด้วย เหตุนี้เองทำให้สภาพเศรษฐกิจของจังหวัดเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตจะมีรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มผ่านตัวเมืองมหาชัย เส้นทางหัวลำโพง-มหาชัย คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2572

ประชากรกระจุกตัวหนาแน่นบริเวณอำเภอเมือง
(คลิก icon ด้านซ้ายบนเพื่อดูรายละเอียด)
จังหวัดสมุทรสาคร อยู่ในเขตปริมณฑล มีสภาพสังคมแบบกึ่งชนบท กึ่งเมือง ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ริมถนนสายหลักและสายรอง (เช่น ถนนพระรามที่ 2 ถนนเอกชัย และถนนเศรษฐกิจ)
จังหวัดสมุทรสาครมีทั้งหมด 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอกระทุ่มแบนและอำเภอบ้านแพ้ว
อำเภอที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดจะอยู่ที่บริเวณอำเภอเมือง ทำให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน อสังหาริมทรัพย์ของจังหวัดจะกระจุกตัวอยู่ในบริเวณนี้
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

รร.อัสสัมชัญพระราม 2

รพ.สมุทรสาคร

รพ.เอกชัย

เศรษฐกิจโดยรวมของมหาชัย
(ข้อมูล : บรรยายสรุปจังหวัดสมุทรสาคร ฉบับล่าสุด ณ เดือนกันยายน 2558)
จากข้อมูลสถิติผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด (GPP) ประจำปี 2556 พบว่า สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดสมุทรสาครขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2556 จังหวัดสมุทรสาครมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) เท่ากับ 317,810 ล้านบาท และมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว เท่ากับ 344,938 บาทเป็นอันดับที่ 7 ของประเทศ
โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสาขาผลิตที่สูงที่สุดในปี 2556 คือ สาขาอุตสาหกรรม 76% รองลงมาคือ สาขาการขายส่ง ขายปลีก 14%
รายได้เฉลี่ยต่อหัวเป็นอันดับ 7 ของประเทศ
(ข้อมูล : บรรยายสรุปจังหวัดสมุทรสาคร ฉบับล่าสุด ณ เดือนกันยายน 2558)เศรษฐกิจปี 2558 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2559
(ข้อมูล : บรรยายสรุปจังหวัดสมุทรสาคร ฉบับล่าสุด ณ เดือนกันยายน 2558)
เศรษฐกิจ จ.สมุทรสาครในปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 3.8
ด้านอุปสงค์(การบริโภค)
- 1. การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่องพิจารณาจากการเพิ่มขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้
- 2. ภาคการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่องพิจารณาจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสําหรับการลงทุน
- 3. การใช้จ่ายภาครัฐ ปรับตัวลดลงเนื่องจากสัดส่วนงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับ จัดสรรน้อยกว่าปีก่อนหน้า
- 1. ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวตามการเพิ่มขึ้นของจํานวนทุนจดทะเบียนของอุตสาหกรรม
- 2. ภาคบริการ ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า(สิงหาคม) ผลจากการปรับตัวดีขึ้นของภาษีผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและยอดขายผู้ประกอบการขายส่งขายปลีก
- 3. ภาคเกษตรกรรม ปรับตัวดีขึ้นจากปริมาณผลผลิตสัตว์น้ําที่เพิ่มขึ้น
เศรษฐกิจ จ.สมุทรสาครในปี 2559 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.1
ด้านอุปสงค์(การบริโภค) คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.7
- 1. การบริโภคภาคเอกชน จะเพิ่มสูงขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจภายในประเทศที่คาดว่าจะดีขึ้น
- 2. ภาคการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าสถาบันการเงินจะขยายการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดเล็กเพิ่มขึ้นตามนโยบายรัฐบาลที่ให้ความช่วยเหลือ SMEs
- 3. การใช้จ่ายภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวเพื่อเพิ่มเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจและกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน
- 1. ภาคอุตสาหกรรม จะเพิ่มการลงทุน และกำลังการผลิตอุตสาหกรรมมากขึ้น
- 2. ภาคบริการ จะมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยวงานประเพณีของจังหวัด
- 3. ภาคเกษตรกรรม คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน จากการขึ้นทะเบียนเรืออย่างถูกต้อง สามารถทำการประมงได้เพิ่มขึ้น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 20 ปี

แนวทางการพัฒนาจังหวัดสมุทรสาครระยะ 20 ปี สู่ปี 2574 เพื่อลดความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกัน และนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ทั้ง ในระดับปัจเจกชน ระดับครัวเรือน
ระดับชุมชน และระดับจังหวัด
มีทั้งหมด 5 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ปีพ.ศ. 2555-2558 เมืองฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและพัฒนาการผลิต สู่มาตรฐานสากล
ระยะที่ 2 ปีพ.ศ. 2559-2562 เมืองสมดุลสิ่งแวดล้อม มั่นคงทางอาหาร อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ระยะที่ 3 ปีพ.ศ. 2563-2566 เมืองเศรษฐกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชุมชนเข้มแข็ง
ระยะที่ 4 ปีพ.ศ. 2567-2570 เมืองน่าอยู่การพัฒนายั่งยืน
ระยะที่ 5 ปีพ.ศ. 2517-2574 เมืองอยู่ดีมีสุข
อาคารพาณิชย์ผุดเต็มเมือง

1. โครงการ Wattana Rama II
ที่ตั้ง : ติดถนนพระราม2
จำนวนชั้น : 4 ชั้น
ขนาดพื้นที่ : 218 ตร.ม.
ราคาเริ่มต้นประมาณ : 6 ล้านบาท
2. โครงการ Landmark Mahachai
ที่ตั้ง : ติดถนนนิคมการรถไฟ
จำนวนชั้น : 4 ชั้น
ขนาดพื้นที่ : 210 ตร.ม.
ราคาเริ่มต้น : 6.5 ล้านบาท
3. โครงการ KITT Plaza
ที่ตั้ง : ซอยพันท้ายนรสิงห์
จำนวนชั้น : 3 ชั้น
ขนาดพื้นที่ : 100 ตร.ม.
ราคาเริ่มต้น : 3.2 ล้านบาท
แหล่งช๊อปปิ้งของคนมหาชัยอดีตถึงปัจจุบัน

2536 : Nampu Plaza
2555 : Porto Chino

2558 : NUSA Avenue

2558 : The Station

2558 : KITT Plaza

โครงการศูนย์กลางการจับจ่ายใช้สอยแห่งใหม่เน้นคนในย่านพันท้ายนรสิงห์ ตั้งอยู่บริเวณกลางซอยพันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาคร ห่างจากโรงเรียนอัชสัมชัญ แคมปัส พระราม 2 ในระยะ 800 เมตร ภายในโครงการมีตลาดพันท้ายไนท์มาร์เก็ตซึ่งเน้นสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP ของจังหวัด และอาคารพาณิชย์เน้นการค้าและการลงทุน ราคาเริ่มต้น 3.29 ล้านบาท
ชื่อโครงการ : คีท พลาซ่า
ประเภท : อาคารพาณิชย์
เจ้าของโครงการ : บริษัทคีท แอสเซท จำกัด
ที่ตั้ง : ติดถนนพระราม 2 ต.โคกขาม อ.เมืองสมุทรสาคร
2559 : Landmark Mahachai คอมมูนิตี้มอลล์ใหม่ล่าสุดใจกลางเมืองมหาชัย



โครงการ “แลนด์มาร์ค มหาชัย” เป็นโครงการมิกซ์ยูส คอมมิวนิตี้มอลล์และอาคารพาณิชย์ เจ้าของโครงการคือบริษัท อี เอ็ม ซี จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่บนถนนนิคมการรถไฟซึ่งเป็นทำเลทองของมหาชัย โดยเช่าที่ดินจากการรถไฟจำนวน 16 ไร่ มีสิทธิ์ถือครองกรรมสิทธิ์ระยะเวลา 30 ปี
ที่ตั้งโครงการถือว่าอยู่บนพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง เนื่องจากอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีผู้คนผ่านไปมาเป็นจำนวนมาก เรียกได้ว่าเป็นจุดที่เหมาะที่จะเปิดร้านค้า ทำให้คนมหาชัยสามารถจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ได้อย่างสะดวก ไม่ต้องขับรถเข้าเมืองหรือเข้าสู่ถนนใหญ่ เช่น พระราม 2
“แลนด์มาร์ค มหาชัย” สร้างภายใต้คอนเซ็ปต์ “The Lifestyle Station” เป็นจุดพักรถแห่งใหม่ที่อยู่ติดกับคอมมิวนิตี้มอลล์
ภายในโครงการประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ
MASTER PLAN

COMMUNITY MALL

1. ส่วนคอมมิวนิตี้มอลล์
มีออกแบบผสมผสานระหว่างโครงสร้าง องค์ประกอบของสถานีรถไฟที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมกับวัสดุและพื้นผิวอาคารที่มีความนำสมัยทำให้เกิดรูปแบบของมอลล์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นแลนด์มาร์คของมหาชัย
ในส่วนมอลล์มีการดึงร้านกาแฟ ร้านค้า ร้านอาหารและร้านดังในท้องถิ่นมาเป็น Anchor Tenants เพื่อสร้างเป็นศูนย์รวมไลฟ์สไตล์ของชาวมหาชัยโดยเฉพาะ
Amazon Cafe

แว่นท๊อปเจริญ

KPN Music Academy

SHOP HOUSE
2. ส่วนอาคารพาณิชย์ มีทั้งหมด 3 โซน ได้แก่
Mainstreet Zone จำนวน 4 ชั้น 210 ตร.ม. 43 ยูนิต ใกล้กับพื้นที่จอกรถซึ่งเป็นจุดพักรถ และจะมีคิวรถตู้ มาลงบริเวณนี้ด้วย
Prime Zone จำนวน 4 ชั้น 210 ตร.ม. 44 ยูนิต โซนนี้จะมีหลังคา Cable Dome คลุมระหว่าง 2 อาคาร เพื่อให้พื้นที่ระหว่างอาคารเปิดเป็น walking street ในช่วงวันหยุด หรือวันเทศกาลต่างๆ
Connect Zone จำนวน 5 ชั้น 210 ตร.ม. 14 ยูนิต เป็นส่วนที่เชื่อมกับ Community Mall