มอเตอร์เวย์ “บางปะอิน-โคราช” คาดเปิดปี 63

นับจากปี 2539 ที่ “ไจก้า-องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น” ทำมาสเตอร์แพลนมอเตอร์เวย์ให้ “ทล.-กรมทางหลวง” บรรจุในแผนลงทุน ระยะทางรวม 4,200 กม. ผ่านมา 20 ปี ขณะนี้เพิ่งก่อสร้างไปได้ 2 สาย คิดเป็นระยะทางกว่า 100 กม. ล่าสุดถึงคิว “บางปะอิน-โคราช” ที่เริ่มตอกเข็มเป็นสายที่ 3 ใน “รัฐบาล คสช.” โดยมี “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 เป็นผู้กดปุ่มเริ่มต้นโครงการเมื่อวันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา เริ่มก่อสร้างจุดแรกที่ทางแยกต่างระดับสระบุรี


โครงการการก่อสร้างทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 6
เส้นทาง : บางปะอิน – สระบุรี – นครราชสีมา ระยะทาง : 196 กม. วงเงินลงทุน : 84,600 ลบ. แบ่งเป็น • ค่าก่อสร้าง 77,970 ลบ • ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,630 ลบ. สัญญาการก่อสร้าง : 40 ตอน • งบปี 59 จำนวน 20 ตอน สถานะการก่อสร้าง : เริ่มก่อสร้างจุดแรกที่แยกต่างระดับสระบุรี การลงทุน : รัฐเปิดโอกาสให้เอกชนร่วมลงทุนในส่วนที่พักริมทาง ปีที่สร้างเสร็จ : 2562 ปีที่เปิดให้บริการ : 2563 Info : กรมทางหลวง (2 Aug 2016)
แนวเส้นทางเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับวงแหวนรอบนอกตะวันออก กับ ถ.พหลโยธินที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นแนวใหม่ขนานไปกับ ถ.พหลโยธินและ ถ.มิตรภาพ และบรรจบกับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา บริเวณหลัก กม.ที่ 2
เส้นทางพาดผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด 12 อำเภอ ได้แก่
1.จ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.วังน้อย อ.อุทัย
2.จ.สระบุรี อ.หนองแค อ.เมืองสระบุรี อ.แก่งคอย อ.มวกเหล็ก
3.จ.นครราชสีมา อ.ปากช่อง อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.เมืองนครราชสีมา

การก่อสร้างแบ่งเป็น 2 ช่วง ใน 2 รูปแบบ ได้แก่
ช่วงที่ 1
• ทางพิเศษ 6 ช่องจราจร
• จากบางปะอิน-อ.ปากช่อง
• ระยะทาง 103 กม.
ช่วงที่ 2
• ทางพิเศษ 4 ช่องจราจร
• จากอ.ปากช่อง-นครราชสีมา
• ระยะทาง 93 กม.
โดยมีรูปแบบการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นทางระดับพื้น แต่จะมีทางยกระดับ 4 ช่วง ระยะทางรวม 32.1 กม. ได้แก่
1. ช่วงทางเลี่ยงเมืองสระบุรี
• ระยะทาง 7 กม.
2. ช่วงพื้นที่สัมปทาน TPI
• ระยะทาง 5.5 กม.
3. ช่วงเขาตาแป้น
• ระยะทาง 2.3 กม.
4. ช่วงอ่างเก็บน้ำลำตะคอง
• ระยะทาง 17.3 กม.



มีการควบคุมการเข้า-ออกแบบสมบูรณ์ (รั้วกั้น) ตลอดทาง
โดยใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางระบบปิด ซึ่งมีด่านจัดเก็บค่าผ่านทางทั้งหมด จำนวน 9 ด่าน ได้แก่
1. ด่านบางปะอิน
2. ด่านวังน้อย
3. ด่านหินกอง
4. ด่านสระบุรี
5. ด่านแก่งคอย
6. ด่านมวกเหล็ก
7. ด่านปากช่อง
8. ด่านสี่คิ้
9. ด่านนครราชสีมา

มีจุดทางแยกต่างระดับที่เชื่อมต่อกับทางหลวง จำนวน 10 แห่ง ได้แก่
1. ทางต่างระดับบางปะอิน 1
2. ทางต่างระดับบางปะอิน 2
3. ทางต่างระดับวังน้อย
4. ทางต่างระดับหินกอง
5. ทางต่างระดับสระบุรี
6. ทางต่างระดับแก่งคอย
7. ทางต่างระดับมวกเหล็ก
8. ทางต่างระดับปากช่อง
9. ทางต่างระดับสีคิ้ว
10. ทางต่างระดับนครราชสีมา
Info : กรมทางหลวง
(2 Aug 2016)


พื้นที่บริการทางหลวง จำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย
1. ที่พักริมทางหลวง (Rest Area) 15 ไร่ จำนวน 5 แห่ง
2. สถานีบริการทางหลวง (Service Area) 20 ไร่ จำนวน 2 แห่ง
3. ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) 50 ไร่ จำนวน 1 แห่ง
Info : กรมทางหลวง
(2 Aug 2016)

กรมทางหลวงยังมีแนวทางที่จะเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุนการบริหารจัดการและงานบำรุงรักษา ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ด้วยรูปแบบ PPP Gross Cost หรือ DBFMO (Design, Build, Finance, Maintainand Operated) เพื่ออำนวยความสะดวก ปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการประชาชนผู้ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองให้เป็นมาตรฐานสากล
Info : กรมทางหลวง
(2 Aug 2016)
ตามกำหนดจะสร้างเสร็จปี 2562 พร้อมเปิดบริการปี 2563
เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จจะช่วยเสริมศักยภาพด้านคมนาคมขนส่งทางถนนและระบบโลจิสติกส์ รวมทั้งแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนถ.พหลโยธิน และถ.มิตรภาพ
นอกจากเชื่อมการขนส่งภาคอีสานไปท่าเรือแหลมฉบังให้ฉลุยแล้ว ยังเสริมแกร่งท่องเที่ยวภาคอีสานมากขึ้น โดยเฉพาะจุดชมวิวที่ลำตะคอง ที่จะเป็นโค้งที่สวยที่สุดและแลนด์มาร์กใหม่เลยก็ว่าได้
Info : กรมทางหลวง
(2 Aug 2016)