คสช.อนุมัติแล้ว รถไฟทางคู่ 8 เส้นทาง 8.6 แสนล้าน

บิ๊กตู่เคาะแล้วรถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตร วิ่ง 160 ก.ม./ช.ม. เชื่อมจีน นำร่อง 2 สาย จากด่านเชียงของ-หนองคาย ทะลุท่าเรือแหลมฉบัง ลงทุนกว่า 7.4 แสนล้าน คาดตอกเข็มปี 59 สร้างเสร็จปี 64
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชุดใหญ่ มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เป็นประธาน ได้เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมศึกษาพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ระบบรางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร หรือสแตนดาร์ดเกจ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จำนวน 2 เส้นทาง เพื่อเชื่อมเศรษฐกิจการค้ากับประเทศจีน ระยะทางรวม 1,392 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 741,460 ล้านบาท
คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในปี 2558-2564 แยกเป็นสายหนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด ระยะทาง 737 กิโลเมตร วงเงิน 392,570 ล้านบาท และสายเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี ระยะทาง 655 กิโลเมตร วงเงิน 348,890 ล้านบาท
เส้นทางรถไฟฟ้าทางคู่ ปัจจุบันและอนาคต (ที่อนุมัติแล้ว)
รถไฟทางคู่ใหม่ 8 สาย- – สีดำ : เส้นทางรถไฟเดิมของประเทศไทย ทั้งที่เป็น ทางเดี่ยว ทางคู่ และทางสาม
- – สีแดง : เส้นทางรถไฟทางคู่ใหม่ 6 เส้น ที่เป็นระบบ Meter Gauge รางกว้าง 1 ม. รองรับความเร็วประมาณ 90 กม./ชม. (เดิมเป็นทางเดี่ยว อนุมัติให้สร้างเพิ่มอีกรางเป็นทางคู่ ) แล้วเสร็จ 2563
- – สีน้ำเงิน : เส้นทางรถไฟทางคู่ใหม่ 2 เส้น ที่เป็นระบบ Standard Gauge รางกว้าง 1.435 ม. รองรับความเร็วประมาณ 160-250 กม./ชม. โดยรถไฟที่จะนำมาใช้งานจะมีความเร็วประมาณ 160 กม./ชม.ในขั้นแรก ซึ่งต่อไปสามารถเปลี่ยนรถไฟเป็นความเร็วสูงได้ (บางเส้นทางเดิมเป็นทางเดี่ยว บางเส้นทางเป็นทางใหม่ โดยอนุมัติให้สร้างทางคู่ใหม่เพิ่ม) แล้วเสร็จ 2564
แนวทางรถไฟในปัจจุบัน และพิกัดสถานีรถไฟหลัก
รถไฟทางคู่และทางสามในปัจจุบัน

ทางรถไฟทางสามในปัจจุบันได้แก่
– รังสิต-ชุมทางบ้านภาชี
– หัวหมาก-ชุมทางฉะเชิงเทรา
ทางรถไฟทางคู่ในปัจจุบันได้แก่
– บางซื่อ-รังสิต
– ชุมทางบ้านภาชี-ลพบุรี
– ชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย
– ตลิ่งชัน-นครปฐม
– ชุมทางฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง (เพิ่งเปิดให้บริการปี 2555)
ทางรถไฟทางคู่ที่ผ่านอีไอเอแล้ว รอประมูลปี 2557
– ชุมทางฉะเชิงเทรา-ชุมทางแก่งคอย

ข้อมูลเบื้องต้น
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพของการขนส่งทางรถไฟในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขนส่งสินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ที่ขนส่งผ่านท่าเรือแหลมฉบังและสถานี ICD ที่ลาดกระบัง การรถไฟฯ ได้เสนอขออนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ตอนฉะเชิงเทรา -ศรีราชา- แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กม. และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ให้ดำเนินโครงการดังกล่าวได้ ต่อมาได้รับอนุมัติให้ปรับปรุงวงเงินลงทุนโครงการเป็นวงเงิน 5,850 ล้านบาท เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 และได้รับการบรรจุไว้ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจีสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ.2550 – 2554ลักษณะและที่ตั้งโครงการ
ก่อสร้างทางรถไฟใหม่คู่ขนานไปกับทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกในปัจจุบัน จากฉะเชิงเทราไปศรีราชาและสุดปลายทางที่สถานีแหลมฉบัง ผ่านสถานีฉะเชิงเทรา ดอนสีนนท์ พานทอง ชลบุรี บางพระ ศรีราชา และแหลมฉบัง ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และชลบุรีขอบเขตของงาน
ก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่มอีก 1 ทาง คู่ขนานไปกับทางรถไฟปัจจุบันจากสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา (กม.60+993) ไปตามเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่สถานีศรีราชา (กม.130+605) และสิ้นสุดปลายทางที่สถานีแหลมฉบัง (กม.140+420) โดยมีการก่อสร้างแผ่นพื้น คสล. วางบนเสาเข็มเพื่อรองรับคันทางดินถมในช่วงที่เป็นดินเหนียวอ่อน (soft clay) จากฉะเชิงเทรา ถึงสถานีพานทอง ประมาณ 33 กิโลเมตรปริมาณงานสำคัญ
- – งานถมดินคันทาง 730,000 ลูกบาศก์เมตร
- – งานชั้นรองพื้นทาง 170,000 ลูกบาศก์เมตร
- – สะพานคอนกรีตและสะพาน Viaduct 4,500 เมตร
- – สะพานโครงเหล็ก 50 เมตร
- – เข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จรูป I (0.22 x 0.22 ม.) 1,800,000 เมตร
- – เข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จ (0.525 x 0.525 ม.) 87,500 เมตร
- – เข็มเจาะ ( 0.80 เมตร) 4,000 เมตร สำหรับสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง
- – ราง BS 80A (UIC 860) 380 เมตริกตัน (ในทางหลีก)
- – ราง BS 100A (UIC 860) 8,600 เมตริกตัน (ในทางประธาน)
- – หมอนคอนกรีตชนิดท่อนเดี่ยว 150,000 ท่อนพร้อมเครื่องยึดเหนี่ยวรางแบบเหล็กสปริง รับแรงบิด (Torsion Type)
- – ประแจ 1 : 12 BS 100A จำนวน 57 ชุด
- และ 1 : 12 BS 80A จำนวน 7 ชุด พร้อม bearer คอนกรีต
- – หินโรยทาง 180,000 ลูกบาศก์เมตร
- – แผ่นคอนกรีตสำหรับทางผ่านเสมอระดับ ยาวประมาณ 470 เมตร
- – รั้วตาข่ายอาบสังกะสี ประมาณ 155,000 เมตร
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ค่าจ้างที่ปรึกษาจัดการประกวดราคาและควบคุมงานก่อสร้าง 248.118 ล้านบาท ค่าก่อสร้างและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณฯ 3,926.000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 4,174.118 ล้านบาทระยะเวลาก่อสร้าง
28 เดือน ( 8 พฤษภาคม 2551 – 7 กันยายน 2553)
ข้อมูลเบื้องต้น
โครงการก่อสร้างทางคู่เส้นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของทางคู่ตอนศรีราชา – ฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะที่ 2 เพื่อรองรับการขยายตัวของท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ซึ่งจากผลการออกแบบรายละเอียดและการศึกษาปริมาณความต้องการด้านการขนส่ง เส้นทางดังกล่าวเมื่อปี 2541 และผลการศึกษาทบทวนโครงการเมื่อปี 2544 การรถไฟฯ ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ ตอนฉะเชิงเทรา – ศรีราชา และต่อขยายเข้าสู่แหลมฉบังเป็นลำดับแรก ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างลักษณะและที่ตั้งโครงการ
ก่อสร้างทางรถไฟใหม่จำนวน 1 ทาง คู่ขนานไปกับทางเดิม เริ่มจากสถานีฉะเชิงเทรา ไปตามทางรถไฟสายตะวันออกเดิม (สายอรัญประเทศ) ผ่านสถานีบางน้ำเปรี้ยวถึงสถานีคลองสิบเก้า แยกขนานไปกับทางรถไฟสายคลองสิบเก้า – แก่งคอย ผ่านสถานีองครักษ์ วิหารแดง บุใหญ่ สุดปลายทางที่สถานี แก่งคอย ซึ่งผ่านพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัด ฉะเชิงเทรา พื้นที่อำเภอองครักษ์ และอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และพื้นที่อำเภอวิหารแดง อำเภอเมือง และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีขอบเขตของงาน
– ก่อสร้างทางใหม่อีก 1 ทาง เริ่มจากสถานีฉะเชิงเทรา (กม.61+190) ถึงสถานีแก่งคอย (กม.167+800) รวมระยะทางประมาณ 106 กม. – จัดเตรียมและเวนคืนที่ดินประมาณ 119 ไร่ บริเวณนอกย่านสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา ชุมทางบ้านภาชี และชุมทางแก่งคอย เพื่อการก่อสร้างทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Line)วงเงินลงทุนโครงการ
จากการศึกษาทบทวนโครงการล่าสุด มีประมาณการค่าก่อสร้าง ประกอบด้วย 128.82 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 414.24 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง / ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ 10,805.29 ล้านบาท รวมประมาณราคาค่าก่อสร้าง 11,348.35ล้านบาทประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ความจุของทางจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตัว สามารถเดินรถได้ตรงเวลาโดยไม่ต้องรอหลีก ความเร็วเฉลี่ยของขบวนรถ และความปลอดภัยในการเดินรถเพิ่มมากขึ้น รองรับการขนส่งสินค้าระหว่างพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกและท่าเรือแหลมฉบัง กับพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น น้ำมัน ก๊าซ LPG ปูนซีเมนต์ สินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น สนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการ ขนส่ง (Modal Shift) ไปสู่ระบบรางและสนับสนุน การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าหัน มาใช้บริการขนส่งระบบรางมากขึ้น เป็นประโยชน์ ต่อการใช้พลังงานและลดต้นทุนการขนส่งของ ประเทศ ช่วยแบ่งเบาปริมาณการจราจรบนถนนสายต่างๆ ที่เชื่อมภาคตะวันออกกับภาคเหนือและภาคตะวันออก- เฉียงเหนือ ลดการใช้น้ำมันสำหรับรถยนต์บรรทุก ลดอุบัติ- เหตุและลดการสูญเสียต่างๆ บนท้องถนน
รถไฟทางคู่รวม 8 สาย ที่อนุมัติโดย คสช.
การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมืองจะดําเนินการปรับปรุงระบบอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง และพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ที่มีความพร้อมดําเนินการ 6 สายแรก และเร่งผลักดันให้สามารถดําเนินการก่อสร้างทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน ( Standard Gauge) เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน และสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนตอนใต้) เพื่อให้รถไฟเป็นทางเลือกใหม่ของการเดินทาง และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง เช่น- – โครงข่ายรถไฟครอบคลุมขึ้นอีก 6 จังหวัด ทางคู่เพิ่มขึ้นอีก 1,300 กิโลเมตร
- – เพิ่มความเร็วในการเดินรถ (รถสินค้าจาก 29 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรถด่วนพิเศษจาก 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- – เพิ่มน้ําหนักลงเพลาทําให้สามารถเพิ่มการขนส่งได้ร้อยละ 25 ต่อขบวน
- – สัดส่วนการขนส่งทางรถไฟในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 5 ในปี 2563
- – ประชาชนเข้าถึงรถไฟได้ง่ายขึ้น การเดินทางและขนส่งด้วยรถไฟตรงเวลา และปลอดภัยมากขึ้น
- – โครงข่ายของไทยสามารถเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและจีนตอนใต้ได้มากยิ่งขึ้น

ลักษณะโครงการ
– เป็นโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ใหม่ แนวเส้นทางมีระยะทางโดยประมาณ 185 กิโลเมตร โดยก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง ตำแหน่งด้านขวาทาง (ด้านตะวันออก) และขนานไปกับทางรถไฟเดิม เริ่มต้นที่ บริเวณสถานีชุมทางถนนจิระ ถึงสถานีขอนแก่น – โครงสร้างทางวิ่งรถไฟเป็นทางวิ่งระดับพื้นทั้งหมด ยกเว้นช่วงบริเวณสถานีขอนแก่นจะเป็นทางรถไฟยกระดับ ระยะทางประมาณ 5.4 กิโลเมตร – ย่านเก็บกองและขนถ่ายตู้สินค้า CY ในโครงการจะมีตำแหน่งของ CY 3 แห่ง ได้แก่ สถานีบ้านกระโดน สถานีบัวใหญ่ และสถานีท่าพระ โดยในส่วนของสถานีบ้านกระโดนจะเป็นตำแหน่งที่ถูกกำหนดให้ก่อสร้างใหม่ ซึ่งย้ายจากจุด CY เดิมจากสถานีบ้านเกาะ เพื่อรองรับการขนส่งที่จะเติบโตในอนาคตและหลีกเลี่ยงพื้นที่ชุมชนเมืองของสถานีบ้านเกาะ – ระบบรางเป็นทางกว้าง 1.00 เมตร (Meter Gauge) แบบใช้หินโรยทาง (Ballast) ใช้รางชนิด UIC54 และหมอนคอนกรีตแบบ Mono Block – ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมสำหรับทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ -ขอนแก่นงบประมาณ
26,152.70 ล้านบาทประโยชน์
– เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งทางรถไฟ ลดระยะเวลาการเดินทาง ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งของประเทศ และลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม – ช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางมากยิ่งขึ้น – เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และท้องถิ่น – ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง – เชื่อมโยงโครงข่ายการบริหารจัดการขนส่งมวลชน สินค้า และบริการ ทั้งในพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
FIRR = 5.90 % EIRR = 24.55 %สถานะปัจจุบัน
ผ่านการพิจารณา EIA แล้ว
ลักษณะโครงการ
– เป็นโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ใหม่ แนวเส้นทางมีระยะทางโดยประมาณ 170 กิโลเมตร โดยก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง ขนานไปกับทางรถไฟเดิม เขตทางกว้าง 60 เมตรเส้นทางวิ่งไปตามแนวเส้นทางรถไฟเดิมตลอดสายทาง เริ่มต้นที่ กม.47+700 บริเวณสถานีนครปฐม แนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศตะวันตกถึงชุมทางหนองปลาดุก ระยะทางประมาณ 16.5 กิโลเมตร จากนั้นแนวเส้นทางเลี้ยวซ้ายลงใต้ ผ่านจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี สิ้นสุดที่ กม.217+700 เลยสถานีหัวหินไปประมาณ 4 กิโลเมตร – บริเวณสถานีช่วง กม.211+582.900 ถึง กม.215+872.900 ระยะทาง 4.290 กิโลเมตร เป็นทางวิ่งยกระดับ – ระบบรางเป็นทางกว้าง 1.00 เมตร (Meter Gauge) แบบใช้หินโรยทาง (Ballast) ใช้รางชนิด UIC54 และหมอนคอนกรีตแบบ Mono Block – ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมสำหรับทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหินงบประมาณ
20,145.59 ล้านบาทสถานะปัจจุบัน
อยู่ระหว่างการพิจารณา EIA
ประโยชน์
– เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งทางรถไฟ ลดระยะเวลาการเดินทาง ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งของประเทศ และลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม – ช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางมากยิ่งขึ้น – เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และท้องถิ่น – ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ลักษณะโครงการ
– ก่อสร้างทางรถไฟความกว้างทาง 1.00 ม.(Meer Gauge) รวมระยะทาง 167 กม. – สร้างเป็นทางคู่ มีสถานี 21 สถานี (รวมสถานีประจวบฯ และ ชุมพร) – สร้างที่หยุดรถเพิ่ม 5 จุด และรื้อย้ายอาคารสถานี 14 สถานี – ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 6 อำเภองบประมาณ
17,452.53 ล้านบาทผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
FIRR = 3.21 % EIRR = 23.53 %สถานะปัจจุบัน
อยู่ระหว่างการพิจารณา EIAประโยชน์
– ภาคประชาชนในพื้นที่ที่โครงการผ่าน สามารถใช้บริการขนส่งได้สะดวกมากยิ่งขึ้น – ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่โครงการผ่าน สามารถใช้บริการขนส่งสินค้าได้ ซึ่งจะช่วยลด ต้นทุนทางโลจิสติกส์ของประเทศได้อย่างเป็นระบบ และจะสามารถพัฒนาความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศได้ – ส่งดีต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมคุ้มค่ากับต้นทุนของทรัพยากรที่นำมาลงทุน
ลักษณะโครงการ
เป็นโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ใหม่ แนวเส้นทางเส้นทางรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะบา-ชุมทางถนนจิระ มีระยะทางประมาณ 131 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ – ช่วงที่ 1 มาบกะเบา-ปางอโศก ระยะทาง 32 กิโลเมตร เริ่มต้นบริเวณสถานีมาบกะเบา จังหวัดสระบุรี กม.134+250 โดยมีโครงสร้างทางรถไฟยกระดับช่วง กม.147+800 ถึง กม.152+650รวมระยะทาง 4.8 กิโลเมตรงบประมาณ
29,968.62 ล้านบาทสถานะปัจจุบัน
อยู่ระหว่างการพิจารณา EIAประโยชน์
– เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งทางรถไฟ ลดระยะเวลาการเดินทาง ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งของประเทศ และลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม – ช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางมากยิ่งขึ้น – เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และท้องถิ่น – ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ลักษณะโครงการ
เป็นโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ใหม่ เขตทาง 60 เมตร ระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร และการพัฒนาทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง ขนานไปกับทางรถไฟเดิม (เขตทางกว้าง 80 เมตร) ระยะทางประมาณ 116 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงที่ 1 แนวเลี่ยงเมืองลพบุรี ระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร จากสถานีบ้านกลับ จังหวัดสระบุรี เส้นทางรถไฟมุ่งขึ้นทิศเหนือวิ่งไปตามแนวเส้นทางเดิมประมาณ 4 กิโลเมตร จากนั้นแนวเส้นทางเลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นทางยกระดับ โดยใช้เขตทางของทางหลวงหมายเลข 311 และข้ามทางแยกทางหลวงหมายเลข 311 จากนั้น แนวเส้นทางเลี้ยวขวาไปตามที่ราบทุ่งนา แล้วมุ่งขึ้นทิศเหนือไปบรรจบทางรถไฟเดิม ก่อนถึงสถานีโคกกระเทียม ช่วงที่ 2 จากสถานีท่าแค-สถานีปากน้ำโพ ระยะทางประมาณ 116 กิโลเมตร เริ่มต้นที่บริเวณสถานีท่าแค เส้นทางมุ่งขึ้นทิศเหนือวิ่งไปตามแนวเส้นทางเดิม สิ้นสุดบริเวณสถานีปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์งบประมาณ
24,918.74 ล้านบาทสถานะปัจจุบัน
อยู่ระหว่างการพิจารณา EIAประโยชน์
– เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งทางรถไฟ ลดระยะเวลาการเดินทาง ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งของประเทศ และลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม – ช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางมากยิ่งขึ้น – เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และท้องถิ่น – ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ข้อมูลน่าสนใจ
เปรียบเทียบ Meter Gauge VS. Standard Gauge

เปรียบเทียบสัดส่วนการใช้รางรถไฟทั่วโลก

แผนงานอื่นๆของคสช.
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคมว่า ได้เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าทุกเส้นทางให้แล้วเสร็จทันตามเป้าหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาการจรจาแออัดให้กับคนกรุงเทพฯโดยจะต้องยึดหลักการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม คุ้มค่า รวดเร็ว และโปร่งใส เบื้องต้นได้กำชับให้เร่งรัดดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง คือ
1. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยได้สั่งการให้ฝ่ายบริหาร รฟม.เร่งปรับแก้ไขร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) ให้เสร็จ เพื่อให้พร้อมเปิดประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อสร้าง
