รถไฟฟ้าสายสีชมพู

ในวันที่ 29 มีนาคม 2559 ทางคณะรัฐมนตรี ได้มีอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) ระยะทางรวม 34.5 กม. และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทางรวม 30 กม. มีวงเงินลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรีรวมประมาณ 105,300 ล้านบาท (รวมค่าจัดกรรมสิทธิที่ดิน) แบ่งเป็น วงเงินลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูประมาณ 53,490 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสี
เหลืองประมาณ 51,810 ล้านบาท (“สัญญาสัมปทานหลัก”)
ซึ่งถ้าไม่รวมค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน สายสีชมพูจะใช้งบประมาณ 47,564 ลบ. และสายสีเหลืองจะใช้งบประมาณ 46,654 ลบ.
รถไฟฟ้าสายสีชมพู จะเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Stradle Monorial) โดยจะเป็นการร่วมทุนกับภาคเอกชน (Publc Private Partnership) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556
รัฐบาลลงทุนจัดหากรรมสิทธิที่ดิน และเอกชน (บริษัทร่วมทุน) ลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธา, ระบบรถไฟฟ้า, ขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งบริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้าและเป็นผู้จัดเก็บรายได้ค่าโดยสาร ระยะเวลารวม 33 ปี 3 เดือน แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 : ช่วงออกแบบก่อสร้างและงานโยธา เป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน
- ระยะที่ 2 : ช่วงเปิดบริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรอง
สัญญาสัมปทานหลัก
1.งานโยธา | 22,000 | ลบ. |
2.งานระบบไฟฟ้า | 23,764 | ลบ. |
3.ค่าใช้จ่าย Pre-operating | 300 | ลบ. |
4.ผลประโยชน์ที่จ่ายให้ รฟม. ตลอดสัมปทาน | 250 | ลบ. |
รวมเงินลงทุนสุทธิของสัญญาสัมปทานหลัก | 46,314 | ลบ. |
ส่วนต่อขยาย
1.งานโยธา | 1,800 | ลบ. |
2.งานระบบไฟฟ้า | 700 | ลบ. |
3.หัก เงินสนับสนุนจากเอกชน* | 1,250 | ลบ. |
รวมเงินลงทุนสุทธิของส่วนต่อขยาย | 1,250 | ลบ. |
รวมเงินลงทุนสุทธิ(ไม่รวมค่าจัดกรรมสิทธิที่ดิน) |
47,564 |
ลบ. |
แผนการดำเนินงาน

รูปแบบโครงการและตำแหน่งของสถานี
เรียบเรียงโดย REALIST คลิกที่ สี่เหลี่ยมด้านซ้ายบนของแผนที่เพื่อเลือกตำแหน่งสถานี
ในวันที่ 16 มิถุนายน 2560 ทาง รฟม. และกระทรวงคมนาคม ได้จัดพิธีลงนามในสัญญาสัมปทานโครงการกับบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ เพื่อจัดหาซื้อ ขบวนรถบอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย 300 จำนวน 144 ตู้ (4 ตู้/1 ขบวน ทั้งหมด 36 ขบวน)
- 1.บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาของโครงการ
- 2.บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงของโครงการ
- 3.บริษัท บางกอกสมาร์ทการ์ดซัสเท็ม จำกัด เป็นผู้ติดตั้งระบบจัดเก็บค่าโดยสารเบื้องต้น
- 4.บริษัท บอมบาดิเอร์ ผลิตและติดตั้งระบบและขบวนรถไฟฟ้าโมโนเรล
- – มีระยะทางประมาณ 34.5 กม. มีทั้งหมด 30 สถานี และสถานีต่อขยาย 2 สถานี
- – โครงการระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคล่อมราง (Straddle Monorail)
- – มีทางเดินสำหรับอพยพฉุกเฉิน (Emergency Walkway) ตลอดทาง
- – โครงการจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2564
- – สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 13,000 คน/ชม./ทิศทาง
- – ความเร็ว 80 กม./ชั่วโมง

ความคืบหน้าในการดำเนินการ
– ในปัจจุบัน โครงการอยู่ระหว่างดำเนินงานเข็มทดสอบบน ถ.ติวานนท์และ ถ.รามอินทรา งานรื้อย้ายสาธารณูปโภค และงานรื้อย้ายต้นไม้ (มิถุนายน พ.ศ. 2561) – กำลังศึกษาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)และประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชน ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย สถานีศรีรัช-เมืองทองส่วนต่อขยาย สถานีศรีรัช-เมืองทอง

- – เริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณสถานีศรีรัชของ Main Line ไปทางทิศตะวันตก และเลี้ยวขวา เข้าสู่เมืองทองธานี ตาม ซ.แจ้งวัฒนะ –ปากเกร็ด 39 แนวทางเดียวกันกับทางพิเศษอุดรรัถยา ต่อเนื่องไปยังจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี
- – รวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตรโดยโครงสร้างรางจะอยู่เหนือเกาะกลางตามแนวเส้นทางของทางพิเศษอุดรรัถยา
- – สถานีรับส่งผู้โดยสาร 2 สถานี