รถไฟฟ้าสายสีชมพู

ในวันที่ 29 มีนาคม 2559 ทางคณะรัฐมนตรี ได้มีอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) ระยะทางรวม 34.5 กม. และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทางรวม 30 กม. มีวงเงินลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรีรวมประมาณ 105,300 ล้านบาท (รวมค่าจัดกรรมสิทธิที่ดิน) แบ่งเป็น วงเงินลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูประมาณ 53,490 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองประมาณ 51,810 ล้านบาท (“สัญญาสัมปทานหลัก”)
ซึ่งถ้าไม่รวมค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน สายสีชมพูจะใช้งบประมาณ 47,564 ลบ. และสายสีเหลืองจะใช้งบประมาณ 46,654 ลบ.
รถไฟฟ้าสายสีชมพู จะเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Stradle Monorial) โดยจะเป็นการร่วมทุนกับภาคเอกชน (Publc Private Partnership) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556
รัฐบาลลงทุนจัดหากรรมสิทธิที่ดิน และเอกชน (บริษัทร่วมทุน) ลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธา, ระบบรถไฟฟ้า, ขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งบริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้าและเป็นผู้จัดเก็บรายได้ค่าโดยสาร ระยะเวลารวม 33 ปี 3 เดือน แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 : ช่วงออกแบบก่อสร้างและงานโยธา เป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน
- ระยะที่ 2 : ช่วงเปิดบริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรอง
สัญญาสัมปทานหลัก
1.งานโยธา | 22,000 | ลบ. |
2.งานระบบไฟฟ้า | 23,764 | ลบ. |
3.ค่าใช้จ่าย Pre-operating | 300 | ลบ. |
4.ผลประโยชน์ที่จ่ายให้ รฟม. ตลอดสัมปทาน | 250 | ลบ. |
รวมเงินลงทุนสุทธิของสัญญาสัมปทานหลัก | 46,314 | ลบ. |
ส่วนต่อขยาย
1.งานโยธา | 1,800 | ลบ. |
2.งานระบบไฟฟ้า | 700 | ลบ. |
3.หัก เงินสนับสนุนจากเอกชน* | 1,250 | ลบ. |
รวมเงินลงทุนสุทธิของส่วนต่อขยาย | 1,250 | ลบ. |
รวมเงินลงทุนสุทธิ(ไม่รวมค่าจัดกรรมสิทธิที่ดิน) |
47,564 |
ลบ. |
แผนการดำเนินงาน

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562 คณะกรรมการ รฟม. อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายศรีรัช – เมืองทองธานี ทำให้ระยะทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูรวมส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี เป็น 37.5 กม. จำนวน 32 สถานี จะเปิดบริการภายใน ก.ย. 2567 ซึ่งจะเปิดให้บริการช้ากว่าจากสายหลัก ในปีแรกจะใช้รถทั้งหมด 92 ตู้หรือ 23 ขบวน มีผู้โดยสาร 130,000 คน/วัน ในระยะเวลา 30 ปี มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ 15.65% และผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) อยู่ที่ 3.86%
สำหรับรูปแบบรถไฟฟ้าทาง รฟม. ยืนยัน เป็นโมโนเรล และเป็นสัญญาเดียวคือทั้งก่อสร้างและเดินรถ ซึ่งระบบโมโนเรลก่อสร้างได้เร็วและง่าย ใช้พื้นที่น้อยลง สร้างยกระดับได้โดยไม่ต้องรื้อสะพานช่วงหลักสี่ออก ขณะที่รูปแบบสนับสนุนเอกชน ทาง รฟม.ให้การสนับสนุนเป็นระยะเวลา มากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยรายละเอียดจะต้องบรรจุไว้ในประกาศทีโออาร์ เพราะช่วยลดภาระรัฐ แต่ห้ามเกินวงเงินโยธาและเป็นการทยอยจ่าย ข้อมูลข่าว : ประชาชาติธุรกิจ 17 มี.ค. 59 12:54
รูปแบบโครงการและตำแหน่งของสถานี
เรียบเรียงโดย REALIST คลิกที่ สี่เหลี่ยมด้านซ้ายบนของแผนที่เพื่อเลือกตำแหน่งสถานี
ในวันที่ 16 มิถุนายน 2560 ทาง รฟม. และกระทรวงคมนาคม ได้จัดพิธีลงนามในสัญญาสัมปทานโครงการกับบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ เพื่อจัดหาซื้อ ขบวนรถบอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย 300 จำนวน 144 ตู้ (4 ตู้/1 ขบวน ทั้งหมด 36 ขบวน)
- 1.บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาของโครงการ
- 2.บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงของโครงการ
- 3.บริษัท บางกอกสมาร์ทการ์ดซัสเท็ม จำกัด เป็นผู้ติดตั้งระบบจัดเก็บค่าโดยสารเบื้องต้น
- 4.บริษัท บอมบาดิเอร์ ผลิตและติดตั้งระบบและขบวนรถไฟฟ้าโมโนเรล
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562 คณะกรรมการ รฟม. อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงศรีรัช – เมืองทองธานี จำนวนรถบอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย 300 จึงเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 168 ตู้ (4 ตู้/1 ขบวน ทั้งหมด 42 ขบวน)
- – มีระยะทางประมาณ 37.5 กม. มีทั้งหมด 30 สถานี และสถานีต่อขยาย 2 สถานี
- – โครงการระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคล่อมราง (Straddle Monorail)
- – มีทางเดินสำหรับอพยพฉุกเฉิน (Emergency Walkway) ตลอดทาง

ความคืบหน้าในการดำเนินการ

– ในปัจจุบัน โครงการอยู่ระหว่างดำเนินงานเข็มทดสอบบน ถ.ติวานนท์และ ถ.รามอินทรา งานรื้อย้ายสาธารณูปโภค และงานรื้อย้ายต้นไม้ (มิถุนายน พ.ศ. 2561)
– การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม ได้จัดพิธีลงนามในสัญญาสัมปทานร่วมลงทุนโครงการกับ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด กรณีโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงศรีรัช – เมืองทองธานี วงเงินลงทุนเพิ่มเติม 4,000 ล้านบาท (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)
– แผนการเปิดโครงการเดิมจะเปิดบริการให้บริการในปี 2564 แต่เนื่องจากติดโควิดไม่สามารถนำเข้าอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าและเครื่องกลจากต่างประเทศทั้งในเอเชียหรือยุโรป และพื้นที่ก่อสร้างช่วงแยกแครายที่ปรับตำแหน่งสถานีใหม่ ทำให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะเปิดได้ตลอดสายในปี 2565 หรืออย่างช้าต้นปี 2566 และสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี จะเปิดบริการภายใน ก.ย. 2567 ซึ่งจะเปิดให้บริการช้ากว่าจากสายหลัก
– การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม ได้จัดพิธีลงนามในสัญญาสัมปทานร่วมลงทุนโครงการกับ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด กรณีโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงศรีรัช – เมืองทองธานี วงเงินลงทุนเพิ่มเติม 4,000 ล้านบาท (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)
– แผนการเปิดโครงการเดิมจะเปิดบริการให้บริการในปี 2564 แต่เนื่องจากติดโควิดไม่สามารถนำเข้าอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าและเครื่องกลจากต่างประเทศทั้งในเอเชียหรือยุโรป และพื้นที่ก่อสร้างช่วงแยกแครายที่ปรับตำแหน่งสถานีใหม่ ทำให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะเปิดได้ตลอดสายในปี 2565 หรืออย่างช้าต้นปี 2566 และสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี จะเปิดบริการภายใน ก.ย. 2567 ซึ่งจะเปิดให้บริการช้ากว่าจากสายหลัก
ส่วนต่อขยาย สถานีศรีรัช-เมืองทอง

- – เริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณสถานีศรีรัชของ Main Line ไปทางทิศตะวันตก และเลี้ยวขวา เข้าสู่เมืองทองธานี ตาม ซ.แจ้งวัฒนะ –ปากเกร็ด 39 แนวทางเดียวกันกับทางพิเศษอุดรรัถยา ต่อเนื่องไปยังจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี
- – รวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตรโดยโครงสร้างรางจะอยู่เหนือเกาะกลางตามแนวเส้นทางของทางพิเศษอุดรรัถยา
- – สถานีรับส่งผู้โดยสาร 2 สถานี คือ สถานีอิมแพ็คชาเลนเจอร์ และ สถานีทะเลสาบเมืองทองธานี
รายชื่อสถานีใหม่ 32 สถานี
1.สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี : ตั้งอยู่บน ถ.รัตนาธิเบศร์ จะมีสกายวอล์กเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง
2.สถานีแคราย : ถ.ติวานนท์ ใกล้โรงพยาบาลโรคทรวงอก ระหว่างซอยติวานนท์ 13 กับซอย 15
3.สถานีสนามบินน้ำ : ถ.ติวานนท์ ใกล้แยกสนามบินน้ำ ระหว่างแยก ถ.สนามบินน้ำกับซอยติวานนท์ 35
4.สถานีสามัคคี : ถ.ติวานนท์ ใกล้แยกเข้า ถ.สามัคคี ระหว่างคลองบางตลาด กับ ถ.สามัคคี
5.สถานีกรมชลประทาน : ถ.ติวานนท์ ใกล้โรงเรียนชลประทานวิทยา ระหว่างซอยติวานนท์ 4 กับซอย 6
6.สถานีปากเกร็ด : อยู่บริเวณหัวมุมห้าแยกปากเกร็ด
7.สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด : ถ.แจ้งวัฒนะ ใกล้แยกถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ตัดกับ ถ.แจ้งวัฒนะ
8.สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 : ตั้งอยู่บน ถ.แจ้งวัฒนะ ใกล้ห้างเซ็นทรัล พลาซ่า
9.สถานีเมืองทองธานี : ใกล้กับถนนเข้าเมืองทองธานีและสะพานข้ามแยกเมืองทองธานี
10.สถานีศรีรัช : บริเวณปากทางเข้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี
11.สถานีเมืองทอง 1 : บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ 14 (ซอยหมู่บ้านเมืองทอง 1)
12.สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ : หน้ากรมการกงสุลและการสื่อสาร
13.สถานีทีโอที : อยู่ระหว่างซอยแจ้งวัฒนะ 5 กับซอย 7
จุดตัดสายสีแดง-สีเขียว
14.สถานีหลักสี่ : ใกล้ศูนย์การค้าไอทีสแควร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)
15.สถานีราชภัฏพระนคร : หน้าห้างแม็กซ์แวลูและ ม.ราชภัฏพระนคร
16.สถานีวงเวียนหลักสี่ : ตั้งอยู่บน ถ.รามอินทรา ใกล้วงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่)
17.สถานีรามอินทรา 3 : อยู่ระหว่างซอยรามอินทรา 3 กับซอย 5 ใกล้ห้างเซ็นทรัลรามอินทรา และคอนโดมิเนียมลุมพินีเพลส
18.สถานีลาดปลาเค้า : ใกล้ทางเข้า ถ.ลาดปลาเค้า
19.สถานีรามอินทรา 31 : ใกล้ฟู้ดแลนด์ ระหว่างรามอินทราซอย 29 และ 31
20.สถานีมัยลาภ : อยู่ระหว่างรามอินทราซอย 12 กับซอย 14
21.สถานีวัชรพล : ใกล้ซอยวัชรพล ช่วงรามอินทราซอย 59 กับซอย 61 อนาคตจะเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา
22.สถานีรามอินทรา 40 : อยู่ระหว่างรามอินทราซอย 40 กับซอย 42
สถานีปลายทาง “มีนบุรี”
23.สถานีคู้บอน : อยู่บริเวณทางแยกนวมินทร์ หรือรามอินทรา กม.8 ระหว่างรามอินทราซอย 46 กับซอย 48 ใกล้แยกคู้บอน
24.สถานีรามอินทรา 83 : ใกล้โรงพยาบาลสินแพทย์
25.สถานีวงแหวนตะวันออก : หน้าศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์
26.สถานีนพรัตนราชธานี : ใกล้แยกเข้าสวนสยาม
27.สถานีบางชัน : ใกล้ซอยรามอินทรา 109 และซอย 115
28.สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ : ใกล้กับโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
29.สถานีตลาดมีนบุรี : ตั้งอยู่บน ถ.สีหบุรานุกิจ ใกล้ตลาดมีนบุรี
30.สถานีมีนบุรี : ตั้งอยู่บน ถ.รามคำแหงซอย 192 ใกล้แยกร่มเกล้า เป็นสถานีปลายทาง มีจุดจอดแล้วจร (Park and Ride) จอดรถได้ 2,000 คัน และศูนย์ซ่อมบำรุงบนพื้นที่ 280 ไร่
เส้นทางสายแยก (อิมแพ็คลิงก์)
31.สถานีอิมแพ็คชาเลนเจอร์ : ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนเมืองทองธานี มีทางเดินเชื่อม(Skywalk) เข้าสู่อาคารอิมแพ็คชาเลนเจอร์ (Impact Challenger)
32.สถานีทะเลสาบเมืองทองธานี : ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของทะเลสาบเมืองทองธานี
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 03 ต.ค. 2555 เวลา 18:22:01 น. และ 28 เมษายน 2561 เวลา 12:56 น.
รายละเอียดรถไฟฟ้าสายสีชมพู
– รถไฟฟ้าโมโนเรลโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ สายแรกของประเทศไทย
– รถรุ่น Bombardier Innovia Monorail 300 เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูงประมาณ 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมคานทั้งหมด)
– ความยาวขบวนรถ 50,474 เมตร น้ำหนัก 14,500 – 15,000 กก.
– ระบบจ่ายไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ในการขับเคลื่อนรถ
– รถรุ่น Bombardier Innovia Monorail 300 เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูงประมาณ 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมคานทั้งหมด)
– ความยาวขบวนรถ 50,474 เมตร น้ำหนัก 14,500 – 15,000 กก.
– ระบบจ่ายไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ในการขับเคลื่อนรถ
– ความเร็วสูงสุด 80 กม./ชม.
– รูปแบบขบวนรถไฟ 4 ตู้ต่อขบวน มีทั้งหมด 42 ขบวน 168 ตู้
– บรรจุผู้โดยสาร 17,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง
ที่มา : https://www.youtube.com/ 9 กุมภาพันธ์ 2564
– รูปแบบขบวนรถไฟ 4 ตู้ต่อขบวน มีทั้งหมด 42 ขบวน 168 ตู้
– บรรจุผู้โดยสาร 17,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง
ที่มา : https://www.youtube.com/ 9 กุมภาพันธ์ 2564