เปิดแผน “สายสีน้ำเงิน” ครบทุกเฟส พร้อมตำแหน่งสถานี

ความคืบหน้าเกือบ 100% แล้ว! หลังจากที่เราใช้รฟฟ.ใต้ดินสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ หรือ MRT มานานกว่า 10 ปี และเพิ่งมีรฟฟ.สายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค เมื่อ ก.ย. 62 ที่ผ่านมา ทาง REALIST มีข่าวมาอัปเดตให้ชมกันล่าสุดครับ
โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ที่มีความเป็นไปได้ที่จะ เปิดบริการในช่วง มี.ค. 63
สำหรับส่วนต่อขยายช่วงที่ 4 บางแค – พุทธมณฑลสาย 4 มีสถานการณ์ล่าสุด (21 ส.ค. 61) ผ่าน EIA แล้ว และอยู่ระหว่างการปรับปรุงรายละเอียดเพื่อเสนอกระทรวงคมนาคม รอขออนุมัติดำเนินการต่อครม. อีกทั้งยังอยู่ในช่วงระหว่างการศึกษาเส้นทาง เพื่อดู Feasibility study ของรฟฟ. เส้นทางดังกล่าว
ส่วนการจัดเก็บค่าโดยสาร สำหรับการเดินทางในสายสีน้ำเงินจะไม่เกินจากอัตราโครงสร้างค่าโดยสารของ MRT เดิม โดยจะมีการคิดอัตราค่าแรกเข้าที่ 16 บาท และมีราคาสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ส่วนอัตราค่าโดยสารร่วมระหว่างสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง จะคิดตามอัตราค่าโดยสารตามปกติและมีราคาสูงสุดไม่เกิน 70 บาทตลอดสาย
โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ที่มีความเป็นไปได้ที่จะ เปิดบริการในช่วง มี.ค. 63
สำหรับส่วนต่อขยายช่วงที่ 4 บางแค – พุทธมณฑลสาย 4 มีสถานการณ์ล่าสุด (21 ส.ค. 61) ผ่าน EIA แล้ว และอยู่ระหว่างการปรับปรุงรายละเอียดเพื่อเสนอกระทรวงคมนาคม รอขออนุมัติดำเนินการต่อครม. อีกทั้งยังอยู่ในช่วงระหว่างการศึกษาเส้นทาง เพื่อดู Feasibility study ของรฟฟ. เส้นทางดังกล่าว
ส่วนการจัดเก็บค่าโดยสาร สำหรับการเดินทางในสายสีน้ำเงินจะไม่เกินจากอัตราโครงสร้างค่าโดยสารของ MRT เดิม โดยจะมีการคิดอัตราค่าแรกเข้าที่ 16 บาท และมีราคาสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ส่วนอัตราค่าโดยสารร่วมระหว่างสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง จะคิดตามอัตราค่าโดยสารตามปกติและมีราคาสูงสุดไม่เกิน 70 บาทตลอดสาย
ส่วนต่อขยาย 4 ช่วงรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน สายเฉลิมรัชมงคล ถูกแบ่งเป็น 4 ช่วง โดยเปิดให้บริการไปแล้ว 2 ช่วง คือ ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ (MRT ในปัจจุบัน) และ ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค (สายสีน้ำเงินฝั่งใต้)
• ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ (MRT ในปัจจุบัน) เป็นระบบใต้ดินแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) โดยได้รับสัมปทานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2542 และเปิดงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม 2547
• ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค (สายสีน้ำเงินฝั่งใต้) มีระยะทางรวม 27 กม. ซึ่งได้ทำการก่อสร้าง 5 สัญญา โดยเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง โดยส่วนต่อขยายช่วง หัวลำโพง-บางแค มีความพิเศษกว่าสายอื่น เพราะเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทยที่มีการขุดเจาะอุโมงค์ทางวิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา และจะมีสถานีท่าพระ เป็น Interchange Station ของสายสีน้ำเงินเอง โดยจะเร่งเปิดวิ่งช่วงหัวลำโพง-ท่าพระไปตั้งแต่ 29 ก.ค. 62 และได้เปิดให้วิ่งช่วงท่าพระ-หลักสองในวันที่ 21 ก.ย. 62 เป็นลำดับถัดมา
และเหลืออีก 2 ช่วงที่เป็นส่วนต่อขยาย คือ ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ และ ช่วงบางแค – พุทธมณฑลสาย 4
• ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ (สายสีน้ำเงินฝั่งเหนือ) ซึ่งยังอยู่ในช่วงระหว่างการก่อสร้าง และคาดว่าจะพร้อมเปิดให้ใช้บริการในช่วง มี.ค. 63
• ส่วนต่อขยายช่วงบางแค – พุทธมณฑลสาย 4 ที่เป็นส่วนต่อขยายออกไปอีกนั้นยังอยู่ในช่วงรอ ครม.อนุมัติสร้าง และอยู่ในระหว่างการศึกษาข้อมูล (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ธ.ค. 62)
• ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ (MRT ในปัจจุบัน) เป็นระบบใต้ดินแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) โดยได้รับสัมปทานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2542 และเปิดงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม 2547
• ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค (สายสีน้ำเงินฝั่งใต้) มีระยะทางรวม 27 กม. ซึ่งได้ทำการก่อสร้าง 5 สัญญา โดยเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง โดยส่วนต่อขยายช่วง หัวลำโพง-บางแค มีความพิเศษกว่าสายอื่น เพราะเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทยที่มีการขุดเจาะอุโมงค์ทางวิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา และจะมีสถานีท่าพระ เป็น Interchange Station ของสายสีน้ำเงินเอง โดยจะเร่งเปิดวิ่งช่วงหัวลำโพง-ท่าพระไปตั้งแต่ 29 ก.ค. 62 และได้เปิดให้วิ่งช่วงท่าพระ-หลักสองในวันที่ 21 ก.ย. 62 เป็นลำดับถัดมา
และเหลืออีก 2 ช่วงที่เป็นส่วนต่อขยาย คือ ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ และ ช่วงบางแค – พุทธมณฑลสาย 4
• ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ (สายสีน้ำเงินฝั่งเหนือ) ซึ่งยังอยู่ในช่วงระหว่างการก่อสร้าง และคาดว่าจะพร้อมเปิดให้ใช้บริการในช่วง มี.ค. 63
• ส่วนต่อขยายช่วงบางแค – พุทธมณฑลสาย 4 ที่เป็นส่วนต่อขยายออกไปอีกนั้นยังอยู่ในช่วงรอ ครม.อนุมัติสร้าง และอยู่ในระหว่างการศึกษาข้อมูล (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ธ.ค. 62)



การคาดการณ์ผู้โดยสาร
ในปี 2562 ซึ่งเป็นปีเปิดให้บริการ ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ : 230,767 คน, ช่วงหัวลำโพง – บางแค : 216,665 คน ส่วนในปี 2572 คาดการณ์ว่าเป็นปีที่โครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะเสร็จสมบูรณ์ ทำให้มีการเปลี่ยนถ่ายไปยังรถไฟฟ้าสายอื่น ส่งผลให้มีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ +27% ช่วงหัวลำโพง – บางแค +42%โครงสร้างทางวิ่ง
โครงสร้างทางวิ่งของโครงการส่วนใหญ่จะเป็นโครงสร้างทางยกระดับ ลักษณะเป็นรางวิ่งทางคู่บนเสาตอม่อบริเวณเกาะกลางถนน คือในช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ทั้งหมด 10 สถานี และในช่วงสถานีท่าพระ – บางแค จำนวน 7 สถานี
และมีโครงสร้างทางวิ่งใต้ดินมีลักษณะทางวิ่งอุโมงค์คู่รางเดี่ยวในช่วงสถานีหัวลำโพง-ท่าพระ จำนวน 4 สถานี ซึ่งสถานีเหล่านี้อยู่ในเขตเกาะรัตนโกสินทร์ คือ วัดมังกรกมลาวาส, วังบูรพา, สนามไชย และอิสรภาพ จึงมีการออกแบบตกแต่งสถานีเป็นพิเศษตามสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
เบื้องต้นรถไฟฟ้าที่จะเอามาเสริมในสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย จะมีจำนวน 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้

รายละเอียดรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และภาพความคืบหน้าแต่ละช่วงสถานี
Info: การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

ระยะทาง : 21 กม.
จำนวน : 18 สถานี
โครงสร้าง :
โครงสร้างทางวิ่งใต้ดินทั้งหมด
เปิดใช้ : 3 ก.ค. 47
สถานะ : เปิดบริการแล้ว

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือ MRT ช่วงหัวลำโพง – บางซื่อ มีเส้นทางการเดินรถรวมระยะทาง 20 กม. เป็นโครงการใต้ดินตลอดสาย มีสถานีทั้งหมด 18 สถานี เริ่มต้นจากบริเวณหน้าสถานีหัวลำโพงไปทางทิศตะวันออกตามแนว ถนนพระราม ที่ 4 ผ่านสามย่าน สวนลุมพินี จนกระทั่งตัดกับ ถนนรัชดาภิเษก เลี้ยวซ้าย ไปทางทิศเหนือตามแนวถนนรัชดาภิเษก ผ่านหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แยกอโศก แยกพระรามที่ 9 แยกห้วยขวาง แยกรัชดา – ลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายไปตาม ถนนลาดพร้าว จนถึงปากทางห้าแยกลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพหลโยธิน ผ่านหน้าสวนจตุจักร ตรงไปสิ้นสุดที่บริเวณ สถานีรถไฟบางซื่อ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยมีระยะห่างระหว่างสถานี โดยเฉลี่ย 1 กม.

HUA – หัวลำโพง

SAM – สามย่าน

SIL – สีลม

LUM – ลุมพินี

KHO – คลองเตย

SIR – ศูนย์การประชุมฯ

SUK – สุขุมวิท

PET – เพชรบุรี

RAM – พระราม 9

CUL – ศูนย์วัฒนธรรมฯ

HUI – ห้วยขวาง

SUT – สุทธิสาร

RAT – รัชดาภิเษก

LAT – ลาดพร้าว

PHA – พหลโยธิน

CHA – สวนจตุจักร

KAM – กำแพงเพชร

BAN – บางซื่อ


เป็นอุโมงค์คู่วางตามแนวราบ และตามแนวดิ่ง เส้นผ่าศูนย์กลางภายในอุโมงค์ 5.7 ม. ความลึกของอุโมงค์ 15-25 ม. จากระดับพื้นดิน ทางเดินฉุกเฉินกว้าง 0.6 ม. สูง 2.0 ม. มีจำนวนสถานีทั้งสิ้น 18 สถานี รูปแบบของชานชาลามีทั้งชานชาลาแบบกลาง และชานชาลาด้านข้าง ยาวประมาณ 150 ม. กว้าง 22-23 ม. (สถานีมาตรฐาน) มีประตูกันคนตก (Screen Door)
ใช้รางคู่ขนาดมาตรฐาน (Standard Gauge) กว้าง 1,435 มม. ใช้รางที่ 3 วางขนานกันไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ

ใช้รถรุ่น Modular Metro ของบริษัท ซีเม็นส์ โดยเป็นรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (heavy rail) ขนาดกว้าง 3.2 ม. ยาว 19.23 ม. และสูงประมาณ 3.8 ม. ใช้ล้อเหล็กวิ่งบนรางเหล็ก ตัวรถมีระบบปรับอากาศ สามารถจุผู้โดยสารได้ 320 คนต่อคัน จำนวนโบกี้วิ่ง 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลต์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับขับเคลื่อนตัวรถ ควบคุมการเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุม ความเร็วสูงสุด 80 กม./ชม. มีจำนวนขบวนรถไฟฟ้าทั้งสิ้น 19 ขบวน



ระยะทาง : 14 กม.
จำนวน : 11 สถานี
โครงสร้าง :
โครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน : 5 กม. 4 สถานีตกแต่งพิเศษ
โครงสร้างทางวิ่งยกระดับ : 9 กม. 7 สถานี
วงเงิน : 82,400 ลบ.
เปิดใช้ : 21 ก.ย. 2562
สถานะ : เปิดบริการแล้ว

มีระยะทางประมาณ 14 กม. เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดินมีลักษณะทางวิ่งอุโมงค์ คู่รางเดี่ยว ในช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ ระยะทาง 5 กม. มีสถานีใต้ดินจำนวน 4 สถานี และทางวิ่งยกระดับในช่วงท่าพระ-บางแค ระยะทาง 9 กม. มีสถานียกระดับจำนวน 7 สถานี โดยเส้นทางเริ่มจากสถานีหัวลำโพงเป็นเส้นทางใต้ดินตามแนวถนนพระรามที่ 4 เข้าสู่ถนนเจริญกรุง ผ่านวัดมังกรกมลาวาส ผ่าน วังบูรพา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสนามไชย ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาด ลอดใต้คลองบางกอกใหญ่ เข้าสู่ถนนอิสรภาพ แล้วเปลี่ยนเป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับมีลักษณะเป็นทางวิ่งรางคู่บนเสาตอม่อ บริเวณบนเกาะกลางถนนเข้าสู่สี่แยกท่าพระ ซึ่งจะมีสถานีร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ- ท่าพระ แล้ววิ่งไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านบางไผ่ บางหว้า ภาษีเจริญ บางแค สิ้นสุดที่วงแหวนรอบนอกถนนกาญจนาภิเษก

4 สถานีโครงสร้างใต้ดิน ตกแต่งพิเศษ




BS 10 – สถานีวัดมังกรกมลาวาส
ตั้งอยู่บริเวณถนนเจริญกรุงตัดกับถนนพลับพลาไชยและถนนแปลงนามที่แยกแปลงนาม SPHERICAL PANORAMIC PHOTOGRAPHY (สถานีวัดมังกร) สามารถคลิกที่ภาพ แล้วหมุนดูรอบด้านได้แบบ 360 องศา และ Double Click ที่ภาพอีกครั้งเพื่อรับชมแบบ Full Screen (สำหรับมือถือ Double Click ที่ Realist Logo) การออกแบบ รูปแบบสถาปัตยกรรมแนว “ชิโนโปรตุกิส” คือแบบจีนผสมยุโรป สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวจีนและสภาพแวดล้อมโดยรอบ นำ “มังกร” มาเป็นสัญลักษณ์ความสุขความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง มีแนวคิดการออกแบบหลายส่วน อาทิ เสาโครงสร้างสถานี ใช้วัสดุแผ่นเหล็กเฉดสีแดงและคาดลวดลายประแจจีนเฉดสีทอง เนื่องจากสีแดงและสีทองเป็นสีมงคลของชาวจีน ผนังสถานีตกแต่งลวดลายดอกบัวพิมพ์ลายบนกระเบื้องเซรามิก ซึ่งลวดลายดอกบัวมาจากรูปแบบของลวดลายประดับภายใน “วัดมังกรกมลาวาส” ที่ชุมชนชาวจีนนับถือ ประกอบกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีแผนปรับปรุงตึกแถวฝั่งตรงข้ามวัดมังกรฯ ให้สอดรับกับการพัฒนาที่จะตามมาหลังเปิดใช้รถไฟฟ้า โดยขอให้ รฟม.เตรียมพื้นที่เพื่อเจาะทะลุเชื่อมโครงการเหมือนกับสถานีพระราม 9 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลดำเนินการมาแล้ว โดยจากที่ทางทีมงานติดต่อสอบถามไปยัง สนง. ทรัพย์สินฯ ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะพัฒนาตึกแถวในรูปแบบใด



BS 11 – สถานีวังบูรพา หรือ สถานีสามยอด
ตั้งอยู่บริเวณถนนเจริญกรุงตัดกับถนนมหาไชยที่แยกสามยอด จนถึงถนนเจริญกรุงตัดกับถนนอุณากรรณและถนนบูรพา และเป็นสถานีใต้ดินร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-ราษฏร์บูรณะ การออกแบบ เน้นสถาปัตยกรรมย้อนยุคตามสไตล์ชิโนโปรตุกิสสอดคล้องกับอาคารริมถนนเจริญกรุง ภายในตัวสถานีเริ่มจากโถงทางเข้า ออกแบบให้มีลักษณะโอ่โถง ซุ้มช่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติและเสาภายในนำรูปทรงและลักษณะของซุ้มประตูสามยอด ประตูทางเข้านำประตูบานเฟี้ยมมาใช้ นอกจากนี้ได้นำรูปแบบประตูตึกแถวเก่ามาดัดแปลง พร้อมนำภาพเก่าเล่าเรื่องราวย่านประตูสามยอดมาถ่ายทอดให้ผู้โดยสารทราบประวัติความเป็นมา ช่วยส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ออกแบบสไตล์สมัยยุครัชกาลที่ 5 กึ่งๆ หอจดหมายเหตุ บอกเล่าเรื่องราวความเป็นประวัติศาสตร์ของพื้นที่ เช่น จำลองร้านเซ่งชง ร้านตัดรองเท้าเก่าแก่มาไว้ภายในสถานีด้วย ขณะที่ภายนอกสถานีรูปแบบอาคารสไตล์สมัยรัชกาลที่ 5 ตกแต่งด้วยสีเรียบง่ายกลมกลืนกับพื้นที่



BS 12 – สถานีสนามไชย
ตั้งอยู่บริเวณถนนสนามไชยตัดกับถนนพระพิพิธ จนถึงถนนสนามไชยตัดกับถนนราชินีบริเวณคลองคูเมืองเดิม SPHERICAL PANORAMIC PHOTOGRAPHY (สถานีสนามไชย) สามารถคลิกที่ภาพ แล้วหมุนดูรอบด้านได้แบบ 360 องศา และ Double Click ที่ภาพอีกครั้งเพื่อรับชมแบบ Full Screen (สำหรับมือถือ Double Click ที่ Realist Logo) การออกแบบ นับว่าเป็นสถานีที่เป็นศูนย์กลางของกรุงเทพฯ ที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์เกาะรัตนโกสินทร์ อาทิ วัดพระแก้ว, พระบรมมหาราชวัง, มิวเซียมสยาม วัดโพธิ์ เป็นต้น ดังนั้นการตกแต่งสถานีนี้ ทาง “รฟม.” และ “ช.การช่าง” ผู้รับเหมาจึงตกแต่งให้เป็นสถานีที่ฟินาเล่ของโครงการ และเป็นแลนด์มาร์คสำคัญ มี “รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี” ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ หรือสถาปัตยกรรม เป็นผู้ออกแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ เป็นผู้ออกแบบให้ งานออกแบบภายในเป็นลักษณะท้องพระโรงสมัยรัตนโกสินทร์ ที่ให้ความรู้สึกงดงาม ตระการตา สะท้อนถึงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่สำคัญ อีกทั้งยังจัดให้มีพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุที่ขุดพบในบริเวณนี้หลังจากก่อสร้างสถานีมาแสดงโชว์ เช่น คลองรากหรือฐานรากโครงสร้างพระราชวัง, ตุ๊กตาดินเผา, ถ้วย, ชาม, กระเบื้องดินเผาสมัยพุทธศตวรรษที่ 24-25, ปืน, เหรียญโลหะสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เป็นต้น ส่วนรูปแบบภายนอกเน้นการตกแต่งเรียบง่ายเข้ากับพื้นที่



BS 13 – สถานีอิสรภาพ
สถานีใต้ดินแห่งแรกในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ตัวสถานีตั้งอยู่ระหว่างซอยอิสรภาพ 23 จนถึงซอยอิสรภาพ 34 SPHERICAL PANORAMIC PHOTOGRAPHY (สถานีอิสรภาพ) สามารถคลิกที่ภาพ แล้วหมุนดูรอบด้านได้แบบ 360 องศา และ Double Click ที่ภาพอีกครั้งเพื่อรับชมแบบ Full Screen (สำหรับมือถือ Double Click ที่ Realist Logo) การออกแบบ ภายนอกเป็นอาคารสถาปัตยกรรมโบราณที่สร้างขึ้นสมัยก่อน ต้องเดินเข้าไปจึงจะรู้ว่าเป็นสถานีรถไฟฟ้า การตกแต่งไม่เข้มข้นมากนัก นำลวดลายวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหารมาเป็นองค์ประกอบในการตกแต่งภายใน เพื่อให้มีกลิ่นอายของความเป็นประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่าของพื้นที่ ที่สานความฝันสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกของฝั่งธนบุรีให้เป็นจริง มีแนวคิดออกแบบด้วยการใช้หงส์ สัตว์ที่แสดงถึงความเป็นสิริมงคลและศักดิ์สิทธิ์ เป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ ของวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ซึ่งในอดีตวัดแห่งนี้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จฯมาสรงน้ำในพิธีสำคัญของแผ่นดิน สร้างความปลาบปลื้มแก่พสกนิกรมาจนถึงทุกวันนี้7 สถานีโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ
- BS 14 ท่าพระ l BS 15 บางไผ่
- BS 16 บางหว้า l BS 17 เพชรเกษม 48
- BS 18 ภาษีเจริญ l BS 19 บางแค
- BS 20 หลักสอง

BS 14 – สถานีท่าพระ
ตั้งอยู่ที่สี่แยกท่าพระและเป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ
BS 15 – สถานีบางไผ่
ตั้งอยู่ตามแนวเพชรเกษม ระหว่างซอยเพชรเกษม 19 และซอยเพชรเกษม 19/2
BS 16 – สถานีบางหว้า
ตั้งอยู่ตามแนวถนนเพชรเกษม ระหว่างแยกบางหว้า และซอยเพชรเกษม 34
BS 17 – สถานีเพชรเกษม 48
ตั้งอยู่ตามแนวถนนเพชรเกษม ระหว่างซอยเพชรเกษม 31/1 และซอยเพชรเกษม 46/2
BS 18 – สถานีภาษีเจริญ
ตั้งอยู่ตามแนวถนนเพชรเกษม บริเวณห้างซีคอน บางแค
BS 19 – สถานีบางแค
ตั้งอยู่ตามแนวถนนเพชรเกษม ระหว่างซอยเพชรเกษม 62/3 และซอยเพชรเกษม 62/4
BS 20 – สถานีหลักสอง
ตั้งอยู่ตามแนวถนนเพชรเกษม ระหว่างซอยเพชรเกษม 80 และแยกต่างระดับเพชรเกษม ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก
อาคารจอดรถ PARK&RIDE
ตั้งอยู่บริเวณสถานีหลักสอง 1. อาคารจอดรถ 10 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 650 คัน 2. อาคารจอดรถ 8 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 350 คัน
ศูนย์ซ่อมบำรุง
อยู่ใกล้กับสถานีเพชรเกษม 48 พื้นที่ประมาณ 90 ไร่ ภายในศูนย์ซ่อมบำรุงจะประกอบด้วย ศูนย์ควบคุมการเดินรถ กลุ่มอาคารซ่อมบำรุง สำนักงานบริหารและจัดการ โรงจอดรถไฟฟ้าและรางทดสอบ


ระยะทาง : 13 กม.
จำนวน : 10 สถานี
โครงสร้าง :
โครงสร้างทางวิ่งยกระดับทั้งหมด
วงเงิน : 82,400 ลบ.
เปิดใช้ : มี.ค. 2563
สถานะ : กำลังก่อสร้าง

ระยะทางประมาณ 13 กม. เป็นโครงสร้างทางวิ่งแบบยกระดับทั้งหมดมีลักษณะเป็นทางวิ่งรางคู่บนเสาตอม่อบริเวณเกาะกลางถนน มี 9 สถานี โดยเริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางซื่อของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ผ่านแยก เตาปูน ซึ่งเป็นสถานีร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ เข้าถนนประชาราษฎร์สาย 2 ผ่านสี่แยกบางโพ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนจรัญสนิทวงศ์บริเวณโรงเรียนเทคโนโลยีพระราม 6 ผ่านแยกบางพลัด แยกบรมราชชนนี แยกไฟฉาย และสิ้นสุดที่แยกท่าพระ โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค














ระยะทาง : 8 กม.
จำนวน : 4 สถานี
โครงสร้าง :
โครงสร้างทางวิ่งยกระดับทั้งหมด
วงเงิน : 20,200 ลบ.
เปิดใช้ : N/A
สถานะ : รอ ครม. อนุมัติ ก่อสร้าง และยังอยู่ในระหว่างการศึกษาเส้นทาง

มีระยะทางทั้งสิ้น 8 กม. 4 สถานี แนวเส้นทางต่อจากช่วงหัวลำโพงบางแค ที่สถานีหลักสอง ลักษณะเส้นทางเป็นทางยกระดับไปตามเกาะกลางของถนนเพชรเกษม ข้ามแยกเพชรเกษม-พุทธมณฑล สาย 2 จากนั้นแนวเส้นทางจะลดระดับลงเพื่อลอดสายส่งไฟฟ้าแรงสูงบริเวณหน้าโรงไฟฟ้าบางกอกน้อย แล้วจึงยกระดับขึ้นไปยังสถานีพุทธมณฑล สาย 2 และยกระดับเพิ่มขึ้นเพื่อข้ามโครงการสะพานข้ามทางแยกในอนาคตของ กทม. ไปยังสถานีทวีวัฒนา คงระดับเดิมต่อไปจนถึงจุดสิ้นสุดโครงการ ผ่านสถานีพุทธมณฑลสาย 3 ข้ามแยกเพชรเกษม-พุทธมณฑล สาย 3 และสะพานข้ามทางแยกในอนาคตของ กทม. วิ่งข้ามทางแยกมาเจริญ (ซอยเพชรเกษม 81) ข้ามโครงการสะพานข้ามทางแยกในอนาคตของ กทม. เข้าสู่สถานีพุทธมณฑล สาย 4 ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายของโครงการ


BS 21 – พุทธมณฑล สาย 2
ตั้งอยู่บริเวณใกล้กับบิ๊กซี , ซอยเพชรเกษม 65/1-2 และซอยเพชรเกษม 98BS 22 – ทวีวัฒนา
ตั้งอยู่บริเวณใกล้กับบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า,ซอยเพชรเกษม 71 และซอยเพชรเกษม 73BS 23 – พุทธมณฑล สาย 3
ตั้งอยู่ใกล้กับสำนักงานเขตหนองแขมBS 24 – พุทธมณฑล สาย 4
ตั้งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านพรทิพา โดยมีอาคารจอดแล้วจรทั้งสองฝั่งถนน สามารถรองรับการจอดรถได้ประมาณ 1,000 คัน

อัปเดตวงเงินการลงทุนช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 จากการรายงานของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.

อัปเดตราคาค่าโดยสารสายสีน้ำเงิน

วันที่ 8 พ.ย. 61 บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM แจ้งอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ใหม่ หลังจากสิ้นสุดการคงราคาอัตราค่าโดยสารเดิม เป็นระยะเวลา 5 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. – 30 พ.ย. 61) เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของภาครัฐที่ต้องการแบ่งเบาภาระประชาชน
โดยจะมีอัตราค่าโดยสารใหม่คือ ราคาเต็มเริ่มต้นที่ 16 บาท สูงสุด 42 บาท (อัตราค่าโดยสารปรับเพิ่มขึ้น 1 บาทจากเดิม ณ จำนวนสถานีที่เดินทางที่ 5, 8 และ 11 นับจากสถานีต้นทาง) พร้อมทั้งส่วนลดพิเศษสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ และสำหรับนักเรียน นักศึกษา เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 61 – 2 ก.ค. 63
*โดยหากมีเดินทางทั้ง 2 สายจะคิดราคาค่าโดยสารตามอัตราของแต่ละสาย และจะมีค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 70 บาท จากเดิมที่ปกติจะคิดค่าบริการแยกสายซึ่งจะมีราคาสูงสุดอยู่ที่ 84 บาท แต่รฟม. ได้ยกเว้นค่าแรกเข้าส่วนที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างสาย ทำให้ลดเงินไปได้ 14 บาท คงเหลือในราคา 70 บาท ตามประกาศนั่นเอง
และสำหรับอัตราค่าโดยสารส่วนต่อขยายในอนาคตยังคงเก็บค่าโดยสารในอัตราปัจจุบัน และรายได้จากค่าโดยสารของ BEM ก็จะมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากกว่า 20% จากการเดินทางต่อเที่ยวมีแนวโน้มไกลขึ้นในอนาคต
เผยโฉมหน้าแบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

BEM กล่าวว่า บริษัทได้ทำการสั่งซื้อรถไฟฟ้าขบวนใหม่ 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ จากบริษัท SIEMENS โดยทำการผลิตจากโรงงานในประเทศเยอรมนี และส่งไปประกอบที่ประเทศออสเตรีย เป็นโรงงานเดียวกับของ BTS โดยรูปแบบของรถจะคล้ายกับของ BTS คือ ไฟรถจะเป็นตาไอรอนแมน แต่ไม่ทั้งหมด สีภายนอกจะเน้นแถบสีน้ำเงิน ประหยัดพลังงานเพราะใช้ไฟฟ้าน้อย ภายในจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่ม เช่น ราวจับ ไม่มีการถอดเก้าอี้ออก (เนื่องจากการถอดเก้าอี้เป็นมาตรการบรรเทาเวลาผู้โดยสารในช่วงหนาแน่นของ รฟม. เท่านั้น) และมีความจุเพิ่มมากขึ้นจากปัจจุบันที่รองรับผู้โดยสารได้ 900 คน อาจจะเพิ่มอีก 100 คน เป็น 1,000 คน/ตู้ เลยทีเดียว
• มี.ค. 62 : รับมอบ 4 ขบวนแรกและทดสอบเพื่อทำความคุ้นเคยกับระบบ 1 เดือน
• เม.ษ. 62 : นำไปเสริมกับที่ใช้งานเดิมในปัจจุบัน 19 ขบวน เป็น 23 ชบวน ในช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ (MRT ปัจจุบัน)
• ก.ย. 62 : รับเพิ่ม 8 ขบวน รวมเป็นรถไฟใหม่ 12 ขบวน ใช้ในส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค
• ต้นปี 63 : รับเพิ่ม 21 ขบวน เพื่อให้ครบ 35 ขบวนตามที่สั่งซื้อไว้