รถไฟฟ้าสายสีม่วง “บางใหญ่-บางซื่อ”

ในที่สุดรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กม. หลังใช้เวลาก่อสร้างมาร่วม 6 ปี ก็ได้ฤกษ์เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 59 หวังใช้เป็นกลไกแก้ไขปัญหารถติดในพื้นฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ช่วงรอยต่อจังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพฯ
ส่วนอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้นที่ 17-42 บ. เริ่มจากสถานีคลองบางไผ่ไปจนถึงสถานีเตาปูน นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงิน (เฉลิมรัชมงคล) ยาวไปจนถึงสถานีหัวลำโพง ในราคาไม่เกิน 70 บ.
โครงการ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ – เตาปูน มีระยะทางประมาณ 23 กม. มีสถานีให้บริการทั้งหมด 16 สถานี ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คน/ชม. หรือมากกว่า 400,000 คน/วัน


โดยภายหลังการเปิดเดินรถไฟฟ้าช่วงเชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูนและสถานีบางซื่อ ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารของรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่วันที่ 11-31 สิงหาคม 2560 ปรากฏว่าจำนวนผู้โดยสารวันธรรมดาหลังการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้นสูงถึง 47.18% จากเฉลี่ย 33,130 คนต่อวัน เป็น 48,760 คนต่อวัน
ซึ่งนับว่าเป็นผลดีกับทั้งผู้ประกอบการ และผู้โดยสาร ที่แต่เดิมต้องใช้เวลาราว 10-15 นาที ในการต่อ Shuttle Bus เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าทั้งสองสาย แต่ภายหลังจากเปิดส่วนต่อขยายเตาปูน-บางซื่อ ทำให้ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนขบวนรถได้ภายในสถานี ซึ่งใช้เวลาเพียง 2-3 นาที เท่านั้น

การเปลี่ยนเส้นทางระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน ที่สถานีเตาปูน จะถูกแบ่งเป็น
– ชานชาลา ชั้น 3 สำหรับสายสีน้ำเงิน (เตาปูน-หัวลำโพง)
– ชานชาลา ชั้น 4 สำหรับสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่)
ส่วนชั้น 2 เป็นจุดออกบัตรและเหรียญโดยสาร ซึ่ง ผู้โดยสารสามารถซื้อตั๋ว เลือกเดินไปยังสถานีในสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วงได้บนหน้าจอเดียวกัน
เหรียญโดยสาร (เดินทางเที่ยวเดียว)
บัตรโดยสาร (เติมเงิน)
นอกจากนี้ยังมีโปรโมชั่นสำหรับนักเรียน นักศึกษา เด็ก และผู้สูงอายุ ซึ่งจะได้รับส่วนลดค่าเดินทางต่างๆ ดังนี้

เหรียญโดยสาร เหมาะสำหรับการเดินทางเที่ยวเดียว สามารถซื้อได้ที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ หรือห้องออกบัตรโดยสารของสถานีสายสีม่วงและสีน้ำเงิน
บัตร MRT PLUS Park & Ride เป็นบัตรจอดรถและบัตรโดยสารในตัว อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่นำรถยนต์เข้ามาจอดในอาคารจอดแล้วจรของสายสีม่วง เพื่อเดินทางต่อด้วยรถไฟฟ้า MRT โดยสามารถนำบัตรจอดรถนี้ไปแตะเข้าสู่ระบบได้ทันที และชำระเงินค่าเดินทาง พร้อมค่าที่จอดรถ เมื่อนำรถออกจากอาคารจอดแล้วจร
บัตร MRT เป็นบัตรประเภทเติมเงิน ออกโดยห้องจำหน่ายบัตรของสถานีสายสีน้ำเงิน สามารถใช้เดินทางและเติมเงินได้ทั้งสายสีน้ำเงินและม่วง ใช้ร่วมกับอาคารจอดแล้วจรได้ทั้งแบบรายชั่วโมงโดยหักค่าที่จอดรถจากเงินที่อยู่ในบัตรโดยสาร และแบบรายเดือน สามารถติดต่อได้ที่สถานี เพื่อชำระเงินและต่ออายุบัตรจอดรถ
บัตร MRT PLUS คุณสมบัติเหมือนบัตร MRT แต่ออกโดยห้องจำหน่ายบัตรของสถานีสายสีม่วง เหมาะสำหรับผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT เป็นประจำ โดยไม่ต้องไปต่อแถวซื้อตั๋วโดยสารทุกครั้งที่เดินทาง
บัตร Mangmoom เป็นบัตรเติมเงินที่สามารถใช้ร่วมกับระบบขนส่งอื่นๆ ในเครือข่ายได้ ซึ่งในตอนนี้ยังมีเพียงระบบรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและสีน้ำเงิน นอกจากนี้ยังมี “บัตรเดบิตแมงมุม” ที่ออกโดย ธ.กรุงไทย ซึ่งเป็นบัตร Master Card สามารถใช้เป็นบัตร ATM เพื่อเบิกถอนเงินสด หรือใช้รูดซื้อสินค้าได้อีกด้วย
ปี 2558 – เผยโฉมรถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงที่กำลังก่อสร้างนั้นเป็นรถไฟในแบบที่เราคุ้นเคยกันดี ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ตู้ขบวน โดยมีระบบขับเคลื่อนอยู่ที่ตู้ที่อยู่ปลายแต่ละด้าน ส่วนตู้กลางเป็นตู้โดยสารที่ไม่มีระบบขับเคลื่อน แต่ในอนาคต เราสามารถเพิ่มจำนวนตู้โดยสารเข้าไปได้อีกรวมเป็น 6 ตู้ขบวนโดยจะมีความยาวของรถไฟขบวนนี้ทั้งหมดประมาณ 130 เมตร รถไฟแต่ละตู้ประกอบด้วยประตูผู้โดยสารทั้งหมด 8 ประตู โดยแต่ละด้านมี 4 ประตู โดยจะมีประตูกั้นชานชลาที่ทำด้วยกระจกกั้นระหว่างชานชลากับรถไฟ ขณะที่รถไฟจอดสนิทที่ชานชลา ประตูรถไฟและประตูกั้นชานชลามีความกว้างมากพอที่จะทำให้การอพยพผู้โดยสารออกจากรถไฟนั้นสามารถทำได้ในเวลาน้อยกว่า 1 นาที รถไฟที่ประกอบด้วย 3 ตู้ขบวนนี้สามารถจุผู้โดยสารได้ 700-1000 คนได้อย่างสบาย ในแต่ละตู้ขบวนจะมีระบบปรับอากาศตามมาตรฐานเดียวกันกับรถไฟใต้ดินและรถไฟลอยฟ้าภายในตู้โดยสารประกอบด้วย 125 ที่นั่งรวมทั้งได้จัดที่สำหรับรถคนพิการด้วย ผู้โดยสารจะได้รับระบบข้อมูลข่าวสารทั้งจากรถไฟและจากชานชลาโดยจากการกระจายเสียง และแผนที่แสดงเส้นทางรถไฟ รวมทั้งระบบประกาศแบบอิเล็คทรอนิกส์ อีกทั้งผู้โดยสารสามารถสื่อสารพนักงานควบคุมรถได้ ปัจจุบันรถไฟมาแล้ว 3 ขบวน หลังจากนี้ขบวนรถไฟฟ้าจะทยอยเดินทางมาถึงประเทศไทย ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนปีนี้ จนครบทั้ง 21 ขบวนภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2559
ปี 2557 – ความคืบหน้าการก่อสร้าง





สถานีคลองบางไผ่ (S01)

สถานีตลาดบางใหญ่ (S02)

สถานีสามแยกบางใหญ่ (S03)

สถานีบางพลู (S04)

สถานีบางรักใหญ่ (S05)

สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ (S06)

สถานีไทรม้า (S07)

สถานีสะพานพระนั่งเกล้า (S08)

สถานีแยกนนทบุรี 1 (S09)

สถานีศรีพรสวรรค์ (S10)

สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (S11)

สถานีกระทรวงสาธารณสุข (S12)

สถานีแยกติวานนท์ (S13)

สถานีวงศ์สว่าง (S14)

สถานีบางซ่อน (S15)

สถานีเตาปูน (S16)



ระบบรถไฟฟ้า
ระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail Transit System) สามารถขนส่งผู้โดยสารประมาณ 50,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทางรูปแบบโครงสร้างทางวิ่ง
โครงสร้างทางวิ่งยกระดับออกแบบเป็นคานรูปกล่องรองรับรางคู่วางบนเสาเดี่ยวตามเกาะกลางถนน และใช้เสาคู่ เพื่อรองรับทางวิ่งช่วงโค้ง ส่วนรูปแบบทางขึ้น – ลง แต่ละสถานี มีทางขึ้น – ลง 4 แห่ง ยกสูงจากระดับพื้นดินประมาณ 1.20 เมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยอยู่นอกทางเท้าทั้งสองฝั่งของถนน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ ลิฟท์ บันไดเลื่อน และทางลาดสำหรับผู้พิการ



