เผยพิกัดสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง! 2564

ครม.เห็นชอบโครงการรถไฟฟ้าจำนวน 2 เส้นทาง ตามมติเห็นชอบของคณะกรรมการ PPP อนุมัติให้เอกชนเข้าลงทุนกับภาครัฐ (PPP) ในรูปแบบ PPP Net Cost
ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กม. และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กม. เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)
ให้เอกชนร่วมลงทุนรวมเป็นระยเวลา 33 ปี 3 เดือน แบ่งเป็น ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน และระยะเวลาเดินรถ 30 ปี
โดยเอกชนเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารและรับความเสี่ยงด้านจำนวนผู้โดยสาร โดยรัฐบาลมีรายจ่ายเฉพาะค่ากรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่เหลือเอกชนลงทุนทั้งหมด อาทิ ค่างานโยธา ค่างานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการ คาดว่าเปิดให้บริการได้ในปี 2565
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้แจ้งความคืบหน้าล่าสุดว่าได้ดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและจะสามารถทยอยส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 2 โครงการได้ในเดือนเมษายน 2561นี้ ซึ่งล่าช้ากว่าที่เคยแจ้งกับทางบริษัท BTS ไว้ว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้ได้ภายในไตรมาส 1 ปี 2561 ทาง BTS จึงขอให้กระทรวงคมนาคม เร่งรัดให้ รฟม.ทยอยส่งมอบพื้นที่เร็วขึ้น ซึ่ง รมช.กระทรวงคมนาคมได้รับเรื่องไว้แล้ว และจะประสานสั่งการไปยัง รฟม.ต่อไป
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ระบุว่ามีความยาก เนื่องจากการจราจรหนาแน่น ขณะที่การก่อสร้างยังต้องดำเนินต่อไป โดยมีการรื้อย้ายอุโมงค์ส่งน้ำประปาขนาดใหญ่ของการประปานครหลวงที่เกาะกลางถนนให้พ้นจากแนวรถไฟฟ้า
ซึ่งเป็นโครงสร้างคล้ายเมื่อตอนก่อสร้าง BTS บนถนนสุขุมวิท จึงถือว่ามีประสบการณ์แล้วและจึงเชื่อว่าจะสามารถบริหารจัดการได้ นอกจากนี้ จุดที่น่าหนักใจอีกจุดหนึ่ง ได้แก่ ที่แยกสะพานบางกะปิ ข้างเดอะมอลล์บางกะปิ เนื่องจากแนวสะพานข้ามทางแยกอยู่ในแนวเดียวกับรถไฟฟ้า ดังนั้น จึงต้องหารือและประสานงานกับกรุงเทพมหานครในการรื้อย้ายสะพาน ข้ามทางแยกออกระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าจนเสร็จ จึงก่อสร้างสะพานข้ามทางแยกคืน (เช่นเดียวกับที่แยกรัชโยธินของรถไฟฟ้าสายสีเขียว) ซึ่งรายละเอียดต่างๆยังอยู่
ข้อมูลข่าว : ไทยรัฐ ,ประชาชาติธุรกิจ ม.ค. 61
ตำแหน่งสถานีโดยสังเขป
เรียบเรียงโดย REALIST (ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) – คลิกที่สี่เหลี่ยมด้านซ้ายบนของแผนที่เพื่อเลือกตำแหน่งสถานี – แผนที่สามารถขยายได้เพื่อดูตำแหน่งโดยละเอียด – คลิก “Base Map / ฐานแผนที่” ด้านมุมซ้ายล่างเพื่อเปลี่ยน Map Backgroundรายละเอียด รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วง รัชดา – พหลโยธิน 24

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยายช่วงรัชดา – จันทรเกษม – พหลโยธิน 24 มีระยะทาง 2.6 กม. โดยกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ – บมจ.ซิโน – ไทยฯ – บมจ.ราชกรุ๊ป) รับสัมปทาน 33 ปี เสนอลงทุนเพิ่ม วงเงิน 3,779 ล้านบาท โดยจะส่วนต่อขยายจะวิ่งบน ถ.รัชดาภิเษก เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย และอาคารทางราชการหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, ศาลอาญา, ศาลอุทธรณ์, ศาลแพ่ง, ศาลแขวงพระนครเหนือ อีกทั้งสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการส่วนต่อขยายนี้ได้ในปี 2567
รายละเอียด รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วง ลาดพร้าว – สำโรง

เงินลงทุน 51,810 ล้านบาท
– ค่าเวนคืนที่ดิน 6,013 ล้านบาท – ค่างานโยธา 23,206 ล้านบาท – ค่าระบบไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า 22,591 ล้านบาทความคืบหน้าในการดำเนินการ
– เบี่ยงช่องทางการจราจรบนถ.ลาดพร้าว
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. แจ้งว่า วันที่ 19 ม.ค. ตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป จะเริ่มปิดเบี่ยงจราจร 24 ชม. เพื่อใช้ผิวจราจร โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง โดยระยะแรกจะปิดเลนขาเข้า 2 จุด บนถ.ลาดพร้าว – จุดที่ 1 ตั้งแต่ซอยลาดพร้าว 136 ถึง ซอยลาดพร้าว 134 ปิด 1 ช่องทางขวา (ชิดเกาะกลาง) ขาเข้า มุ่งหน้าแยกรัชดา-ลาดพร้าว – จุดที่ 2 ตั้งแต่ซอยลาดพร้าว 45/1 ถึง ซอยลาดพร้าว 45 ปิด 1 ช่องทางขวา (ชิดเกาะกลาง) ขาเข้า ข้อมูลข่าว : ไทยรัฐ 19 ม.ค. 61– เบี่ยงช่องทางการจราจรบนถ.ศรีนครินทร์
ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป ช่วงเวลา 22.00 – 04.00 น. ทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความจำเป็นต้องใช้ผิวจราจรบนถนนศรีนครินทร์ 2 ช่องทางขวา ชิดเกาะกลาง (ฝั่งขาเข้า) ตั้งแต่บริเวณแยกสวนหลวง (ศรีนุช) ถึงบริเวณแยกพรีเมียร์ (ซ.ศรีนครินทร์ 57) เพื่อนำตัวกั้นถนน (Barrier) วางชิดเกาะกลาง จากบริเวณซอยศรีนครินทร์ 36 ถึงซอยศรีนครินทร์ 30 (ฝั่งขาเข้า) มุ่งหน้า แยกสวนหลวง (ศรีนุช) เป็นระยะทางประมาณ 180 ม. เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินงานเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ทั้งนี้หลังเวลา 04.00 น. สามารถใช้ผิวจราจรได้ตามปกติ ทั้งฝั่งขาเข้า และฝั่งขาออก ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวไม่กระทบต่อผิวจราจรแต่อย่างใด ข้อมูลข่าว : MRTA 31 พ.ค. 61
รายงานความก้าวหน้าดำเนินการก่อสร้างเดือนพฤษภาคม 2018
INFO :MRTA May 2018
อาคารจอดแล้วจร
มีอาคารจอดรถเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าศรีเอี่ยม จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณแขวงการทางสมุทรปราการ เป็นอาคาร 7 ชั้น สามารถจอดรถได้ประมาณ 3,000 คัน
ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot)
ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันตกของทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์กับถ.บางนา-ตราด พื้นที่ประมาณ 112 ไร่ ประกอบด้วย
-ศูนย์ควบคุมการเดินรถ
-กลุ่มอาคารซ่อมบำรุง
-สำนักงานบริหารและจัดการ
-โรงจอดรถไฟฟ้า

ระบบโครงสร้าง (Park & Ride)



รายชื่อสถานี 23 สถานี
























สถานีศรีเอี่ยม อาคารซ่อมบำรุง และอาคารจอดและจร
