เปิดแผนพัฒนา สนามบินอู่ตะเภา
ท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 และ นิคมอุตสาหกรรมการบิน พร้อมพัฒนาคมนาคมควบคู่

แผนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เป็น 1 ในแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จากทั้งหมด 48 โครงการ ซึ่งโครงการพัฒนาส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน, รถไฟ, ท่าเรือ และสนามบิน ซึ่งสนามบินอู่ตะเภาจะใกล้กับท่าเรือจุกเสม็ด (หรือที่คุ้นหูคือ เป็นท่าเรือที่เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้จอดประจำอยู่นั่นเอง) ซึ่งอยู่ในแผนพัฒนาเช่นกัน
สรุปการพัฒนากันก่อนนะครับ
การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาตามนโยบายของกองทัพเรือ เน้นให้เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 ของกรุงเทพฯ (รองจากสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง) ซึ่งจะมีอาคารผู้โดยสารใหม่ เปิดใช้งานราวกลางปีหน้า (ตอนนี้กำลังก่อสร้างอยู่) รองรับผู้โดยสารได้ 3 ล้านคน/ปี และในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้ามีเป้าหมายให้การพัฒนาเชิงพาณิชย์ให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 60 ล้านคน/ปี
Update ภาพสนามบินอู่ตะเภาล่าสุด (มิถุนายน 2560)




















Update วีดีโอสนามบินอู่ตะเภาล่าสุด (มิถุนายน 2560)
. .



ระยะที่ 1
• โครงการในสนามบินอู่ตะเภา (Aviation Hub) ระยะแรก-ศึกษาความเหมาะสม และ EIA/EHIA (ภาพรวมการพัฒนาสนามบิน และรายกิจกรรมสำคัญ)
• ติดตั้งระบบ IT กล้องวงจรปิด เครื่อง X-Ray และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2
• ก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรมบุคคลากรด้านการบิน
ระยะที่ 2
• ก่อสร้าง High Speed Taxiway และ Taxiway
• ก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 (รองรับอากาศยาน Code 4F /การขนส่งทางอากาศ/ อุตสาหกรรมการบิน/ MRO และท่องเที่ยว)
• ก่อสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยาน MRO (Commercial Airplane และ Private Jet/Helicopter / 2Hangars / 72 aircraft (144engines))
• ก่อสร้างศูนย์ขนส่งทางอากาศ Air Cargo
ระยะที่ 3
• ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (รองรับผู้โดยสาร 15 ล้านคน/ปี)
• ก่อสร้าง Commercial Gateway (headquarter/ Technology/ Research/ Recreation Center)
• พัฒนาพื้นที่ Free trade zone และ Medical Hub


อู่ตะเภา TIMELINE
2504 – เริ่มโครงการสนามบินอู่ตะเภาเป็นท่าอากาศยานภายใต้การดูแลของกองทัพเรือไทย ตั้งอยู่ใน จ. ระยอง 2508 – คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภา เพื่อเป็นหน่วยในการลำเลียงหน่วยรบไปยังจุดต่างๆภายในประเทศ การก่อสร้างใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี โดยใช้ชื่อว่า “สนามบินอู่ตะเภา” 2519 – กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ถอนกำลังทหารออก คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ และเป็นสนามบินสำรองของท่าอากาศยานดอนเมือง ต่อมาพัฒนาเป็นท่าอากาศยานสากล โดยใช้ชื่อว่า “สนามบินนานาชาติระยอง-อู่ตะเภา” ภายใต้สังกัดของกองทัพเรือ มีการใช้งานด้านการทหาร และศูนย์ซ่อมบำรุงของบริษัทการบินไทยเป็นหลัก 2551 – แต่หลังจากเหตุการณ์ทางการเมือง และน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ รัฐบาลมีโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินสำรองของกรุงเทพ โดยมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ ขนาดรองรับผู้โดยสาร 3 ล้านคนต่อปี มาตั้งแต่ปี 2554 2558 – ล่าสุด 3 มิ.ย. 2558 ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์ แห่งที่ 3 ซึ่งมีแผนพัฒนาต่างๆเกิดขึ้นมาในอนาคต

• การพัฒนาเชิงพาณิชย์
ปัจจุบันอาคารผู้โดยสารรองรับได้ 8 แสนคน/ปี และกำลังจะเปิดอาคารผู้โดยสารหลังใหม่รองรับได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านคน/ปีในราวกลางปีหน้า ขณะเดียวกันก็อยู่ระหว่างเตรียมจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ในระยะ ที่ 2 และ 3 ต่อไป โดยคาดการณ์ผู้ใช้งานสูงสุดในอนาคต 60 ล้านคน/ปี• นิคมอุตสาหกรรมการบิน
ขณะนี้การบินไทยอยู่ระหว่างการพิจารณาแผนพัฒนาศูนย์ซ่อมเครื่องบินที่อู่ตะเภา คาดใช้งบฯลงทุนหลักหมื่นล้าน โดยมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์ซ่อมเครื่องบินในภูมิภาคเอเชีย โดยจะผลักดันให้เกิดการลงทุนระยะที่ 1 (ปี 2559-2561)ก่อน จากทั้งหมดมี 3 ระยะ• พัฒนาคมนาคมควบคู่
ส่วนใหญ่เป็นการขยายถนนที่เข้าถึงสนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้รองรับการสัญจรให้มากขึ้น รวมถึงมีการก่อสร้างมอเตอร์เวย์พัทยา-มาบตาพุดเพิ่มเติม นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาในระยะยาวเรื่องระบบราง คือ สถานีรถไฟอู่ตะเภา และรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-ระยอง



ในส่วนของการขยายการให้บริการของสนามบินอู่ตะเภา ปัจจุบันอาคารผู้โดยสารเดิมมีขนาด 2,610 ตร.ม.
รองรับได้ 8 แสนคน/ปี
และกำลังจะเปิดอาคารผู้โดยสารหลังใหม่มีขนาด 22,000 ตร.ม. ซึ่งเป็นแผนพัฒนาที่อยู่ในระยะที่ 1 สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านคน/ปีในราวกลางปีหน้า (2560)
โดยมีสายการบินที่มีเที่ยวบินขึ้น-ลง 5 สายการบิน คือ
• แอร์เอเชีย
• บางกอก แอร์เวย์
• กานต์แอร์
• อาร์แอร์ไลน์
• ไชน่า เซาเทิร์น แอร์ไลน์


ขณะเดียวกันก็อยู่ระหว่างเตรียมจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ในระยะที่ 2 และ 3 ต่อไป โดยจะใช้งบประมาณปี 2560 ในการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาใช้เวลาในการศึกษาราว 12 เดือน
ซึ่งเบื้องต้นได้แบ่งระยะการพัฒนาเป็น 3 ระยะ โดยเน้นการปรับวิธีบริหารจัดการระหว่างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ กับอาคารผู้โดยสารเดิม ให้รองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น โดย
ระยะสั้น : รองรับผู้โดยสารได้ 5 ล้านคน
ระยะกลาง : เพิ่มการรองรับเป็น 15 ล้านคน
ระยะยาว : มองไว้เผื่อถึง 60 ล้านคน ทั้งยังกันพื้นที่ไว้สำหรับสร้างทางวิ่งเส้นที่ 2 ในอนาคตอีกด้วย
ซึ่งจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาที่จะผลักดันให้สนามบินอู่ตะเภา เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 ตามมติการประชุมของกระทรวงคมนาคมและกองทัพเรือ เมื่อ 30 เม.ย. 2558 ตามแผนพัฒนามีการแบ่งระยะ ออกเป็น 3 ระยะ (ตามตารางด้านบน) ดังนี้
ระยะที่ 1 (ปี 2558 – 2560)
เป็นการเพิ่มศักยภาพการรองรับผู้โดยสารเป็น 3 ล้านคน/ปี โดยใช้อาคารผู้โดยสารที่มีอยู่เดิมและอาคารผู้โดยสารใหม่ รวมทั้งทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดอากาศยาน การบริการทางภาคพื้น ระบบเติมน้ำมัน และหอบังคับการบินที่มีอยู่เดิม • ก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 331 ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 36 (พนมสารคาม) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 3 (อ.สัตหีบ) ขยายจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร • ก่อสร้างทางหลวงพิเศษ (Moterway) ระหว่างเมืองสายพัทยา – มาบตาพุด • ปรับถนนทางเข้า – ออกหลักในฝั่งตะวันตกของท่าอากาศยานให้สอดคล้องกับการบริการเชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานระยะที่ 2 (ปี 2561 – 2563)
เพื่อรองรับผู้โดยสารเป็น 5 ล้านคน/ปี โดยการเพิ่มการดำเนินการเชิงพาณิชย์ ในฝั่งตะวันตกให้มากขึ้น โดยยึดหลัก One Airport Two Mission ในการบริหารจัดการพื้นที่การให้บริการเชิงพาณิชย์และความมั่นคง ภายใต้การดูแลของกองทัพเรือระยะที่ 3 (ปี 2563 เป็นต้นไป)
การศึกษาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พื้นที่ Landside และ Airside รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการพัฒนาขีดความสามารถของท่าอากาศยานอู่ตะเภา ให้รองรับการเติบโตของกิจการการบินในอนาคต
ขณะนี้การบินไทยอยู่ระหว่างการพิจารณาแผนพัฒนาศูนย์ซ่อมเครื่องบินที่อู่ตะเภา คาดใช้งบฯลงทุนหลักหมื่นล้าน โดยมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์ซ่อมเครื่องบินในภูมิภาคเอเชีย โดยจะผลักดันให้เกิดการลงทุนระยะที่ 1 (ปี 2559-2561)ก่อน
ซึ่งระยะที่ 1 จะมีการก่อสร้างโรงซ่อมและโรงจอดเครื่องบินขนาดใหญ่ สามารถนำเครื่องบินพาณิชย์ใหญ่ที่สุดในโลก Airbus A380 จอดพร้อมกัน 2 ลำในโรงจอด และเจาะตลาดเครื่องบินรุ่นใหม่ เช่น Boeing 787 และ Airbus A350 เบื้องต้นลงทุนราว 5 พัน ลบ.
และในส่วนการพัฒนาระยะที่ 2 และ 3 ต้องรอรายละเอียดต่อไป

โครงการพัฒนาศูนย์ซ่อมเครื่องบินที่อู่ตะเภา เป็นการลงทุนของภาคเอกชน ถือเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สร้างความแข็งแกร่งขององค์กร ตามแผนปฏิรูปของการบินไทยอยู่แล้ว ซึ่งต้องการให้การบินไทยแตกไลน์บริการใหม่ ๆ เพื่อหารายได้เพิ่มเติม
นอกจากศูนย์ซ่อมอากาศยานที่เป็นการลงทุนของภาคเอกชนแล้ว ยังมีการลงทุนเป็น
– ศูนย์ขนส่งสินค้าทางอากาศและระบบโลจิสติกส์ (Air Cargo and Logistics Hub)
– ศูนย์ฝึกอบรมด้านการบินในทุกเรื่อง เน้นเรื่อง On The Job Training ไม่ว่าจะเป็น ช่าง, นักบิน และการให้บริการด้านภาคพื้น
1. เส้นทางหลวง
โดยส่วนใหญ่เป็นการขยายถนนให้กว้างขึ้น เพื่อรองรับการใช้งาน ในฐานะที่เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์ และนิคมอุตสาหกรรมท่าอากาศยาน ซึ่งส่วนนี้จะรับผิดชอบโดยกรมทางหลวง2. เส้นรางรถไฟ
เป็นการขยายเส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่สนามบินด้วยระบบรางให้ง่ายขึ้นที่ ส่วนนี้จะรับผิดชอบโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย1. เส้นทางหลวง
สำหรับโครงข่ายถนนที่กรมทางหลวงจะเป็นผู้รับผิดชอบ แบ่งเป็นโครงการที่กำลังก่อสร้าง และเป็นแผนงานในอนาคต ดังนี้โครงการที่กำลังก่อสร้าง (ในแผนที่เส้นสีแดง)
• ขยายทางหลวงหมายเลข 331 ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 36 (พนมสารคาม)-ทางหลวงหมายเลข 3 (อ.สัตหีบ) จาก 2 เป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 25.923 กม. วงเงิน 607.650 ลบ. คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2560Google Street หน้าทางเข้าท่าอากาศยานอู่ตะเภา ทางหลวง 3126
• ขยายเส้นทางหลวงหมายเลข 3126 ตอนพลูตาหลวง-ท่าเรือจุดเสม็ด (แสมสาร) จาก 2 เป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 11.163 กม. โดยระยะเร่งด่วนจะดำเนินการช่วงด้านหน้าสนามบินอู่ตะเภา ระยะทางประมาณ 2.5 กม. ซึ่งล่าสุด ครม. อนุมัติงบประมาณ วงเงินรวม 221 ลบ. สร้างทางหลวงหมายเลข 3126 จากสามแยกทางหลวงหมายเลข 3 เข้าสนามบินอู่ตะเภาแล้ว
นอกจากนั้นจะมีการเพิ่มภูมิสถาปัตยกรรมสองข้างทางเพื่อความสวยงาม โดยอยู่ระหว่างสำรวจออกแบบ ส่วนระยะทางที่เหลือจนถึงท่าเรือจุดเสม็ดจะดำเนินการในปี 2560
IMAGE : รูปแบบการขยายชองจราจรของโครงการขยายทางหลวง
• มอเตอร์เวย์สาย 7 หรือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (พัทยา-มาบตาพุด) มูลค่ากว่า 1.4 หมื่นล้านบาท โดยกรมทางหลวงแบ่ง 13 ตอนเริ่มก่อสร้างปี 2559 ให้แล้วเสร็จในปี 2562
แผนงานในอนาคต (ในแผนที่เส้นสีชมพู)
• ขยายทางหลวงหมายเลข 3 ตอนบ้านฉาง-ระยอง จาก 4 เป็น 8 ช่องจราจร ดำเนินการในปี 2560-2562 และ ตอนสัตหีบ-บ้านฉาง จาก 4 เป็น 8 ช่องจราจร ดำเนินการในปี 2561-2563 • ขยายทางหลวงหมายเลข 332 ตอนแยกเจ-แยกสนามบินอู่ตะเภา จาก 2 เป็น 4 ช่องจราจร ดำเนินการปี 2562-25642. เส้นรางรถไฟ
สำหรับการวางแผนด้านระบบรางเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าออกสนามบินอู่ตะเภานั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดทำแผนปรับปรุงเส้นทางรถไฟและก่อสร้างสถานี คือ เพิ่มสถานีอู่ตะเภา เพื่อรองรับผู้โดยสาร ซึ่งกองทัพเรือยินดีจะยกพื้นที่ให้สร้าง และยังมองถึงการเดินรถไฟถึงท่าเรือสัตหีบ (ท่าเรือจุกเสม็ด) โดยรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณปี 2560 ในการลงทุนอยู่ที่ราว 70 ลบ. คาดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเปิดประมูลได้ในสิ้นเดือนธันวาคมนี้ ใช้เวลาดำเนินการ 18 เดือนแล้วเสร็จ นอกจากนั้นอาจจะมีปรับปรุงทางให้แข็งแรงช่วงสถานีบ้านพลูตาหลวง-สถานีอู่ตะเภา ระยะทางประมาณ 4 กม. โดยจะมีการจัด Shuttle Bus ให้บริการระหว่างสถานีรถไฟอู่ตะเภาเข้าไปยังสนามบิน
ในอนาคตจะมีการพัฒนาส่วนต่อขยายจากท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาไปเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-พัทยา
ซึ่งในเฟส 1 รถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้จะไปเชื่อมกับเส้นทางแอร์พอร์ตลิ้งค์ที่สถานีลาดกระบัง
และเฟส 2 จึงจะมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไปยังท่าอากาศสุวรรณภูมิ ซึ่งต้องรอติดตามรายละเอียดความคืบหน้ากันต่อไป
PRESENTATION

มอเตอร์เวย์สาย 7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด
โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)หมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ – บ้านฉาง ช่วงพัทยา – มาบตาพุด มูลค่ากว่า 1.4 หมื่นล้านบาท โดยกรมทางหลวงแบ่ง 13 ตอน รวมระยะทาง 31 กม. ระยะเวลาดำเนินงานก่อสร้าง 4 ปี เริ่มก่อสร้างปี 2559 ให้แล้วเสร็จในปี 2562 จะดำเนินการก่อสร้างเชื่อมต่อเส้นทางจากช่วงชลบุรี – พัทยา บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 36 ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 3 บริเวณอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และการก่อสร้างปรับปรุงถนนโครงข่ายเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 3 บริเวณตำบลบ้านอำเภอ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ควบคู่ไปด้วย ระยะทาง 7.856 กิโลเมตร โดยก่อสร้างเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ในเขตทางกว้าง 80 เมตร มีทางแยกต่างระดับ ได้แก่ ทางแยกต่างระดับมาบประชัน ทางแยกต่างระดับห้วยใหญ่ ทางแยกต่างระดับบ้านเขาซีโอน นอกจากนี้ ยังมีสถานีบริการทางหลวง ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณตำบลห้วยใหญ่ (ประมาณ กม.20) ด่านจัดเก็บเงินค่าผ่านทางแบบระบบปิด 3 แห่ง ได้แก่ ด่านห้วยใหญ่ ด่านเขาชีโอน และด่านอู่ตะเภา

IMAGE : กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม

รถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-ระยอง
• ระยะทางรวม 193.5 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากสถานีลาดกระบังไปจนถึงสถานีระยอง • ใช้เขตทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นหลัก • ระบบรางคู่ (Double Track) และมีความกว้างรางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) • โครงสร้างทางยกระดับ (Elevated) เกือบทั้งหมด และมีอุโมงค์เดี่ยวทางคู่ (Single Large Tunnel for Double Track) ความยาว 300 ม. บริเวณทางเบี่ยงเขาชีจรรย์ • ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) พื้นที่กว่า 400 ไร่ จะตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา • คาดว่าจะเปิดเดินรถได้ในปี 2563 (ข้อมูล วันที่ 12 พ.ค. 59) • ในอนาคตจะมีการพัฒนาส่วนต่อขยายจากสถานีระยองไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา และจังหวัดตราด รวมระยะทางอีก 160 กม. • เป็นระบบรถไฟความเร็วสูงที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง • ระยะเวลาเดินทางประมาณ 1.05 ชั่วโมง (65 นาที) • ขบวนรถมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยจำแนกการให้บริการทั้งระดับชั้นวีไอพี (VIP Class) ชั้น 1 (First Class) และชั้นธรรมดา (Standard Class)

IMAGE : สถานีรถไฟความเร็วสูงระยอง
• สถานีรถไฟความเร็วสูงทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และระยอง • ที่ตั้งของสถานีมีความสอดคล้องกับข้อกำหนดด้านผังเมืองและแนวคิดในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่สอดคล้องกับระบบขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development: TOD) • มีทางเข้า-ออกสถานีที่เชื่อมต่อระหว่างย่านสถานีกับถนนโดยรอบ พร้อมทั้งจัดให้มีพื้นที่จอดรับส่งผู้ใช้บริการเพื่อให้สามารถเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง (INTER-MODAL PLANNING) ไปยังระบบขนส่งอื่นๆ เช่น Airport Link รถไฟความเร็วสูงสายแก่งคอย-ฉะเชิงเทรา ระบบขนส่งมวลชนทางรางขนาดเบา (Monorail) ของเมืองพัทยา • สถาปัตยกรรมภายในอาคารบ่งบอกเอกลักษณ์ของท้องถิ่น มีความทนทานต่อสภาพอากาศ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็ก ตามมาตรฐานสากล (Universal Design) รวมถึงพื้นที่สำหรับจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ข้อมูล : โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ – ระยอง (ระยองฮิพ 18 พ.ค. 59)