เตรียมลงเสาเข็มปี 2563 “อุโมงค์ทางเดินลอด” ถนนมหาราช – ถนนหน้าพระลาน

กทม.เตรียม ตอกเสาเข็ม สร้างอุโมงค์ทางเดินลอดถนนหน้าพระลาน-ถนนมหาราช พร้อมงานก่อสร้างระบบสุขาภิบาล ระบบระบายน้ำ ระบบไฟแสงสว่าง ระบบระบายอากาศและปรับอากาศ ระบบจราจร งานปรับปรุงภูมิทัศน์ และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง วงเงินก่อสร้างรวม 1,125 ลบ. ประกอบด้วย 2 โครงการ 3 ตำแหน่ง ดังนี้
1. โครงการอุโมงค์ทางเดินลอดถนนหน้าพระลาน จำนวน 2 จุด วงเงิน 945 ลบ. ระยะเวลาก่อสร้าง 540 วัน ได้แก่
2. โครงการอุโมงค์ทางเดินลอดถนนมหาราช จำนวน 1 จุด วงเงิน 180 ลบ. ระยะเวลาก่อสร้าง 360 วัน
1. โครงการอุโมงค์ทางเดินลอดถนนหน้าพระลาน จำนวน 2 จุด วงเงิน 945 ลบ. ระยะเวลาก่อสร้าง 540 วัน ได้แก่
- จุดที่ 1 ระยะทาง 96 เมตร พื้นที่ 6,280 ตารางเมตร พร้อมห้องน้ำชาย 21 ห้อง ห้องน้ำหญิง 55 ห้อง โถงพักคอย และอาคารกองอำนวยการ
- จุดที่ 2 ระยะทาง 37 เมตร พื้นที่รวม 350 ตารางเมตร
2. โครงการอุโมงค์ทางเดินลอดถนนมหาราช จำนวน 1 จุด วงเงิน 180 ลบ. ระยะเวลาก่อสร้าง 360 วัน
- จุดที่ 3 ระยะทาง 90 เมตร พื้นที่รวม 1,146 ตารางเมตร พร้อม ห้องน้ำชาย 15 ห้อง ห้องน้ำหญิง 20 ห้อง โถงพักคอย
ความเป็นมาของโครงการ “อุโมงค์ทางเดินลอด”

โครงการได้รับการอนุมัติจากการประชุมคณะผู้บริหาร กทม. โดยมี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง (ผู้ว่าราชการจังหวัด กทม.) เป็นประทานในการประชุม เมื่อวันที่ 9 ก.ย.2562 เริ่มการตัดแต่ง ล้อมย้ายต้นไม้ เมื่อเดือน พ.ค. 2563 ที่ผ่านมา โดยทั้งสองโครงการจะเริ่มสร้างพร้อมกัน
ลอดถนนหน้าพระลาน) ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 540 วัน คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในต้นปี 2565 (คำนวณจากระยะเวลาก่อสร้างโครงการ) และโครงการที่ 2 (อุโมงค์ลอดถนนมหาราช) ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 360 วัน โดยคาดว่าน่าจะเสร็จภายในปลายปี 2564
ลอดถนนหน้าพระลาน) ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 540 วัน คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในต้นปี 2565 (คำนวณจากระยะเวลาก่อสร้างโครงการ) และโครงการที่ 2 (อุโมงค์ลอดถนนมหาราช) ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 360 วัน โดยคาดว่าน่าจะเสร็จภายในปลายปี 2564
จุดประสงค์ของโครงการ “อุโมงค์ทางเดินลอด”

การสร้างอุโมงค์ในครั้งนี้มีจุดประสงค์ ประกอบไปด้วย 4 หัวข้อหลัก ดังนี้
1. เพื่อจะปรับภูมิทัศน์สนามหลวง
2. จัดระเบียบการสัญจร คนไม่ต้องเดินข้ามถนน เพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่
3. ลดความแออัดบนท้องถนน
4. อำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ กว่า 35,000 คนต่อวัน ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะบริเวณหน้าพระบรมมหาราชวัง และบริเวณหน้าพระลาน
1. เพื่อจะปรับภูมิทัศน์สนามหลวง
2. จัดระเบียบการสัญจร คนไม่ต้องเดินข้ามถนน เพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่
3. ลดความแออัดบนท้องถนน
4. อำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ กว่า 35,000 คนต่อวัน ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะบริเวณหน้าพระบรมมหาราชวัง และบริเวณหน้าพระลาน
เส้นทางของโครงการ “อุโมงค์ทางเดินลอด”

จุดที่ 1 จะมีทางขึ้น-ลง อุโมงค์บริเวณ สนามหลวง-กรมศิลปากร-วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (บริเวณประตูมณีนพรัตน์ และประตูวิเศษไชยศรี)
จุดที่ 2 จะมีทางขึ้น-ลง อุโมงค์บริเวณ กรมศิลปากร-พระบรมมหาราชวัง (บริเวณประตูวิเศษไชยศรี และประตูวิมานเทเวศร์)
จุดที่ 3 จะมีทางขึ้น-ลง อุโมงค์บริเวณ ท่าเรือท่าช้าง – พระบรมมหาราชวัง (บริเวณประตูสุนทรทิศา)
จุดที่ 2 จะมีทางขึ้น-ลง อุโมงค์บริเวณ กรมศิลปากร-พระบรมมหาราชวัง (บริเวณประตูวิเศษไชยศรี และประตูวิมานเทเวศร์)
จุดที่ 3 จะมีทางขึ้น-ลง อุโมงค์บริเวณ ท่าเรือท่าช้าง – พระบรมมหาราชวัง (บริเวณประตูสุนทรทิศา)
คำถามจากสังคม !?

หลังจากการดำเนินการรื้อถอนและล้อมย้ายต้นไม้ในเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ชาวเน็ตได้ออกมาแสดงความเห็น และมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการดำเนินการในครั้งนี้ โดยเฉพาะเรื่องต้นไม้ที่โดนรื้อถอนและล้อมย้าย ต่างก็มีคำถามว่า ทำไมต้องย้าย? ย้ายไปที่ไหน? แล้ว จะเอากลับมาไหม? ไม่มีต้นไม้จะทำให้ภูมิทัศน์แย่กว่าเดิมไหม จะร้อนกว่าเดิมเพราะไม่มีร่มเงาจากต้นไม้หรือเปล่า? ซึ่งในจุดนี้ก็ต้องรอดูกันต่อไป