เปิดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ

ภายหลังการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ ทุกภาคส่วนย่อมได้รับผลกระทบ เนื่องจากการขยายตัวและการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค อีกทั้งผลกระทบของความร่วมมืออื่น ๆ เช่น กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง (GMS) ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการพัฒนาพื้นที่เขตการค้าและการลงทุนเพื่อเป็นประตูรองรับการเชื่อมโยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
เขตเศรษฐกิจพิเศษมีการกำหนดพื้นที่จำเป็นต้องเร่งพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ คือระยะแรก ประกอบด้วย ตาก สระแก้ว สงขลา ตราด และมุกดาหาร และระยะที่ 2 ประกอบด้วย กาญจนบุรี เชียงราย นครพนม หนองคายและนราธิวาส โดยรัฐบาลเร่งพัฒนาระยะที่ 1 ก่อนเนื่องจากเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีความได้เปรียบทางด้านกิจการการค้าชายแดน ซึ่งมีมูลค่าสูงอยู่แล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ


ซึ่งในปี 2558 คณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพน.) กำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็น 2 ระยะ เพื่อเป็นการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถของประเทศ กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และแก้ปัญหาความมั่นคง โดยใช้กลยุทธ์สำคัญ 4 ประการ
1. สนับสนุนพื้นที่เศรษฐกิจใหม่
2. สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน
3. สนับสนุน SMEs และการลงทุนต่อเนื่อง
4. จัดระเบียบพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน






เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด
” ศูนย์กลางการค้าส่ง ขนส่งต่อเนื่องระหว่างประเทศ และศูนย์กลางการให้บริการการท่องเที่ยวระดับภูมิภาค “

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก
” ศูนย์กลางการค้าส่ง ขนส่งต่อเนื่องระหว่างประเทศ และศูนย์กลางการให้บริการการท่องเที่ยวระดับภูมิภาค “

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร
” ศูนย์ค้าส่งและขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ “

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว
” ศูนย์อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ “

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา
” ศูนย์อุตสาหกรรมแปรรูปและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ “


