-
แยกท่าพระ BLUE LINE INTERCHANGE

แยกท่าพระ เป็นอีกหนึ่งแยกสำคัญฝั่งธนฯ ที่ใครหลายคนต้องเคยเดินทางผ่านแยกนี้ เป็นจุดตัดระหว่างถ.เพชรเกษม, รัชดาภิเษก และจรัญสนิทวงศ์ เชื่อมไปยังถ.ราชพฤกษ์ พร้อมทั้งมีอุโมงค์ลอดแยกและสะพานข้ามแยกที่ช่วยระบายการจราจรให้มีความคล่องตัว
วันนี้แยกท่าพระเข้ามามีบทบาทกับเมืองมากขึ้น เนื่องจากมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินพาดผ่านกลางสี่แยก ซึ่งเป็นจุดปักหมุดของสถานีท่าพระ โครงสร้างยกระดับทอดไปไปตามแนวถนนทั้ง 3 สาย ทำหน้าที่เป็นสถานีร่วมของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ กับ ช่วงหัวลำโพง-บางแค
ปัจจุบันกำลังดำเนินการก่อสร้าง มีความคืบหน้าถึง 70% และกำหนดการแล้วเสร็จคือปี 62
นอกจากนั้นยังมีการลงทุนคอนโดใหม่ล่าสุดอีกหนึ่งโครงการบริเวณท่าพระ คือ ไอดีโอ ท่าพระ-อินเตอร์เช้นจ์ (IDEO Thaphra Interchange)




ในฝั่งธนฯมีชุมชนที่สำคัญคือ ชุมชนกุฎีจีน และชุมชนบ้านลาว ที่ทำให้เกิดวัฒนธรรม ศิลปกรรมขึ้นมา เช่น การผลิตขลุ่ยจากชุมชนบ้านลาว ขนมฝรั่งกุฎีจีนที่เป็นขนมโบราณของชาวโปรตุเกส ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่ครัวเรือนที่สืบทอดการทำขนมนี้
นอกจากนั้นยังมีศาลเจ้าเกียงอันเกง วัดซางตาครูสที่เลื่องชื่อ เป็นที่รู้จัก จนปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่น่าสนใจ


วิถีชีวิตที่มีมานาน สร้างเอกลักษณ์เฉพาะสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น รวมไปถึงวัฒนธรรมการกิน ทำให้ฝั่งธนฯมีร้านอาหารโบราณที่เลื่องชื่อมากมาย
สามารถหาร้านอร่อยๆทานได้อย่างง่ายดาย เช่น ข้าวขาหมู บางหว้า, ข้าวมันไก่หลักสอง, บะหมี่ปูสะพานพุทธ, หมูจุ่มลาดหญ้า, ห่านท่าดินแดง, หมูสะเต๊ะท่าดินแดง, บัวลอยไข่เค็มท่าน้ำคลองสาน, ต้มเลือดหมูนายอ้วน แยกบางบอน, จิตรลูกชิ้นปลา ตลาดหนองใหญ่, กระเพาะปลา ตลาดพลู เป็นต้น

วัฒนธรรมที่มีมาตั้งแต่อดีต นำมาสู่การเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น เขตพระราชฐานเดิมตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสิน ที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ ทั้งป้อมวิไชยประสิทธิ์, ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน, เรือนเขียว, ตำหนักเก๋งคู่หลังใหญ่-เล็ก
รวมถึงศาสนสถานเลื่องชื่อ เช่น วัดอรุณราชวราราม, วัดโมลีโลกยาราม. วัดอมรินทรารามฯ, วัดระฆังโฆษิตาราม, วัดกัลญาณมิตรฯ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง


นอกจากของกินแสนอร่อยแล้ว ยังมีย่านการค้าที่เดินทางจากฝั่งธนฯไปได้สะดวก เช่น ย่านค้าดอกไม้ ปากคลองตลาด, ย่านค้าผ้า พาหุรัด, ย่านรวมของกระจุกกระจิก สำเพ็ง
ในฝั่งธนเองก็มีตลาดพลู, ตลาดท่าพระ, ตลาดวงเวียนใหญ่ เป็นศูนย์รวมการค้าของคนในชุมชนฝั่งธนอีกด้วย




นักลงทุนเล็งเห็นศักยภาพของพื้นที่ฝั่งธนฯ จะเห็นได้จากจำนวนของแหล่งพาณิชยกรรมใหม่ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะคอมมูนิตี้มอลล์ที่เป็นรูปแบบพาณิชยกรรมที่กำลังได้รับความนิยม เช่น เสนาเฟส, ท่ามหาราช, เดอะ แจม เฟคทอรี่ ทั้งหมดเป็นตัวสร้างสีสันให้กับฝั่งธนฯ และเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาในอนาคตต่อไป
รวมถึงโครงการ ไอคอน สยาม จากสยามพิวรรธน์ ที่ถือเป็นอภิมหาโครงการเมืองแห่งการใช้ชีวิตสู่โลกอนาคต ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนฯ


เมื่อโครงข่ายระบบรางได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมด สถานี INTERCHANGE สำคัญด้านฝั่งธนฯ จะกลายเป็นโหนดการเชื่อมต่อในการเดินทางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ และไปถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วขึ้น อย่างย่านสีลม, เยาวราช, สาทร และสยาม
โดยโครงการในอนาคตที่จะเป็นตัวเชื่อมโยงฝั่งธนฯ คือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค ขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง กำหนดการแล้วเสร็จปี 2562
และรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน ที่อยู่ในช่วงรอพิจารณาโครงการ กำหนดการแล้วเสร็จปี 2564 ซึ่งปัจจุบันรถไฟฟ้าสายนี้มีช่วงการเดินรถช่วงตากสิน-บางหว้าที่ข้ามมาฝั่งธนแล้ว
รวมถึงสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย, สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ, สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ที่จะพร้อมเปิดให้บริการ 12 ส.ค. 59





การข้ามมาฝั่งธนฯจากฝั่งพระนคร ใช้สะพานที่สำคัญ เช่น สะพานกรุงธน, สะพานพระราม 8, สะพานพระปิ่นเกล้าฯ และสะพานพระปกเกล้า โดยแต่ละสะพานจะนำเข้าสู่ถนนสายหลัก เช่น สะพานพระปกเกล้าฯ ไปถ.ประชาธิปก เข้าสู่แยกวงเวียนใหญ่, สะพานพระปิ่นเกล้าฯ ไปถ.บรมราชชนนี เข้าสู่ย่านปิ่นเกล้าได้
นอกจากถนนสายหลักแล้ว ต้องผ่านแยกสำคัญๆที่เป็นอีกหนึ่งเส้นทางการสัญจรเพื่อระบายรถ แยกเหล่านี้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยระบายรถที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ล่าสุด แยกไฟฉาย ก็กำลังก่อสร้างอุโมงค์ลอดแยก เพื่อแก้ปัญหาการจราจรบริเวณแยก และลดจุดตัดของการสัญจร
แยกวงเวียนใหญ่


แยกท่าพระ


แยกไฟฉาย


แยกบรมฯ





โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มีสถานีท่าพระเป็นสถานีร่วม ตั้งอยู่ที่กลางสี่แยกท่าพระ ยกระดับทอดตัวทั้งสี่ด้าน ไปทางถ.จรัญสนิทวงศ์-รัชดาภิเษก, ถ.เพชรเกษมทั้งสองฝั่ง ซึ่งเป็นทางเดินรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง ส่วนอีกแยกหนึ่งเป็นทางกลับขบวนรถไฟฟ้า
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค มีระยะทางประมาณ 14 กม. เป็นทางใต้ดินยาว 5 กม. มีจำนวน 4 สถานีวิ่งจากหัวลำโพง แล้วจึงเปลี่ยนเป็นวิ่งยกระดับในช่วงสถานีท่าพระ-บางแค ระยะทาง 9 กม. จำนวน 7 สถานี เส้นทางสิ้นสุดลงที่ถ.กาญจนภิเษกของฝั่งธนฯ
ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง มีความคืบหน้าไปแล้วประมาณ 70% และคาดการณ์การเปิดให้บริการได้ในปี 2562
ภาพจำลองสถานีท่าพระ


ภาพความคืบหน้ารถไฟฟ้าสถานีท่าพระ




