BEM 2 ธุรกิจจาก ช.การช่าง

“BEM” บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เกิดขึ้นจากการรวมตัวของ BECL (ทางด่วน) และ BMCL (รถไฟฟ้า) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ช. การช่าง ผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่
ภายในปี 2559 BECL จะเปิดเส้นทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกให้ใช้บริการกัน ซึ่งจะส่งผลให้มีเส้นทางการเดินทางครอบคลุมฝั่งตะวันตกของกทม.มากขึ้น
และทาง BMCL จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูนอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 ส.ค. 59
โดยการคาดการณ์รายได้ในปี 2560 หลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จทั้ง 2 โครงการ BECL จะมีรายได้ประมาณ 6,000 ลบ. ในขณะที่ BMCL จะมีรายได้ประมาณ 4,000 ลบ. ถือเป็นรายได้ที่น่าสนใจและดึงดูดนักลงทุน
BEM จะมีมูลค่ารวมของหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) เพิ่มขึ้นเป็นอันดับที่ 35 ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยมูลค่ากว่า 7.8 หมื่นลบ. และจะเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหุ้น วันที่ 5 ม.ค.59 นี้
ชื่อใหม่ คือ BEM!

BEM หรือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่เกิดขึ้นจากการควบบริษัทตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
ระหว่างบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ที่มีคู่สัญญาเป็น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ (BECL) ที่มีคู่สัญญาเป็นการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ในวันที่ 30 ธ.ค. 58 โดยทั้งสองเป็นบริษัทลูกของบริษัทก่อสร้างรายใหญ่อย่าง ช. การช่าง
แผนธุรกิจของ BEM จะมีธุรกิจหลัก 3 ประเภท คือ ระบบราง, ระบบถนน , การพัฒนาเชิงพาณิชย์


เป็นผู้ให้บริการทางด่วน คือ ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) และทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) ซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายทางพิเศษที่ครอบคลุมพื้นที่หลักของกรุงเทพและปริมณฑล ทําให้ผู้ใช้ทางสามารถเดินทางจากทิศเหนือของกรุงเทพมหานครไปยัง ทิศใต้และทิศตะวันออกของกรุงเทพฯได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่จําเป็นต้องเดินทางผ่านเส้นทางถนนพื้นล่างมีการจราจรที่ติดขัด
ภายในปี 2559 นี้เมื่อโครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครเปิดให้บริการ ก็จะสามารถเชื่อมโยงไปยังทิศตะวันตกของ กรุงเทพครบทุกทิศทาง
โดยมีรายละเอียดของแต่ละเส้นทางดังนี้
ทางด่วนที่ได้รับสัมปทานจาก BECL
- BECL = Bangkok Expressway Public Company Limited
- NECL = North Bangkok Expressway Public Company Limited
- EXAT = Expressway Authority of Thailand
- SOE = Si Rat – Outer Ring Road Expressway
- BTO = Build-Transfer-Operate
ทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2)

ลักษณะของทางพิเศษศรีรัช เป็นการก่อสร้างทางพิเศษยกระดับขนาด 6 เลน ความยาวประมาณ 38.5 กม. เชื่อมพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี
ได้รับสัมปทานจาก BECL 30 ปี โดยแบ่งพื้นที่บริการเป็น 2 โครงข่าย ดังนี้
- โครงข่ายในเมือง
- SECTOR A พระราม 9 – รัชดาภิเษก
- SECTOR B โครงกรองน้ำสามเสน – บางโคล่
- โครงข่ายนอกเมือง
- SECTOR C รัชดาภิเษก – แจ้งวัฒนะ
- SECTOR D พระราม 9 – ศรีนครินทร์
ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน – ปากเกร็ด)

BECL ได้จัดตั้ง บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (NECL) ให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและบริหารโครงการ อายุสัมปทาน 30 ปี นับจากวันที่ 27 ก.ย. 39 ถึง วันที่ 26 ก.ย. 69
เชื่อมต่อจากทางพิเศษศรีรัชที่ SECTOR C ทำให้ระบบโครงข่ายของถนนและทางพิเศษในพื้นที่กรุงเทพตอนบนสมบูรณ์ขึ้น เพราะทางพิเศษอุดรรัถยา ทำหน้าที่เป็นเส้นแนวรัศมีรับปริมาณการจราจรจากใจกลางเมือง มาเชื่อมกับถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตกของกรมทางหลวง
แบ่งออกเป็น 2 ระยะ
- SECTOR C1+ แจ้งวัฒนะ – เชียงราก
- SECTOR C2+ เชียงราก–บางไทร
ล่าสุด! ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ

แนวเส้นทาง
เป็นทางพิเศษยกระดับขนาด 6 เลน มีระยะทาง 16.7 กม. แนวเส้นทางโครงการจะเป็นการขยายโครงข่ายทางด่วนไปด้านทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างพื้นที่ฝั่งธนบุรีกับในเมือง โดยแนวจะเริ่มจากถนนวงแหวนรอบนอก หรือถนนกาญจนาภิเษก บริเวณใกล้โรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ ไปทางทิศตะวันออกตามแนวเขตทางรถไฟสายใต้เดิม ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระราม 6 จนถึงบริเวณบางซื่อเชื่อมต่อทางด่วนขั้นที่ 2 ด้านเหนือของสถานีขนส่งหมอชิต 2จุดต่อเชื่อม
โครงการมีจุดต่อเชื่อมกับถ.สายหลักและทางพิเศษ ดังนี้ – ด่านกาญจนาภิเษก-ถ.กาญจนภิเษกด้านตะวันตก – ด่านราชพฤกษ์-ถ.ราชพฤกษ์ – ด่านบรมราชชนนี-ทางยกระดับบรมราชชนนี (ขาเข้าเมือง) – ด่านบางบำหรุ-ถ.สิริธร, ถ.เทิดพระเกียรติ, รอบสถานีรถไฟบางบำหรุ – ด่านจรัญสนิทวงศ์ 2-ถ.จรัญสนิทวงศ์, โครงการสะพานเกียกกาย – ด่านจรัญสนิทวงศ์ 1-ถ.จรัญสนิทวงศ์ หน้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (ถ.บางกรวยไทรน้อย) – ด่านพระราม 6-ถ.ประชาราษฏร์สาย 1, ถ.รัชดาภิเษกฝั่งพระนคร, ถ.พิบูลย์สงคราม – ด่านศรีรัช-ทางพิเศษศรีรัช, ถ.กำแพงเพชร 2ทางขึ้น-ลง
มีการกำหนดทางขึ้น-ลงไว้ 6 แห่ง โดยแต่ละแห่งมีระยะห่างกันประมาณ 3 กม. ดังนี้
– ทางขึ้น-ลง กาญจนาภิเษก – ทางขึ้น-ลง ราชพฤกษ์ – ทางขึ้น-ลง บางบำหรุ – ทางขึ้น-ลง จรัญสนิทวงศ์ – ทางขึ้น-ลง พระรามหก – ทางขึ้น-ลง กำแพงเพชร
ทางแยกต่างระดับ
ตอบสนองต่อความปลอดภัย และการเลี้ยวเปลี่ยนทิศทางของพาหนะ โดยทำให้เกิดการเลื่อนไหลของการจราจรอย่างอิสระ ในโครงการมี 3 แห่ง
– ทางแยกต่างระดับถ.กาญจนาภิเษก – ทางแยกต่างระดับบรมราชชนนี – ทางแยกต่างระดับศรีรัช
ความคืบหน้าโครงการ




ปัจจุบันได้รับสัมปทานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในโครงการระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง) ซึ่งให้บริษัทมีสิทธิ ในการให้บริการเดินรถและจัดเก็บรายได้ค่าโดยสาร
และอีกโครงการคือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (คลองบางไผ่-เตาปูน) เป็นสัมปทานรับจ้างเดินรถ ซึ่งอยู่ระหว่างการทดสอบเดินรถ และพร้อมเปิดให้บริการได้ภายในปี 2559
ในอนาคตBMCL อาจได้รับสัมปทานในรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นเส้นทางต่อเนื่องจากเส้นทางสัมปทานเดิม รวมถึงส่วนต่อขยายสายสีม่วง สายสีส้ม สายสีแหลือง และสายสีชมพู ซึ่งเราต้องรอดู ติดตามควาบคืบหน้ากันต่อไป เนื่องจากเป็นโครงการในมาตรการเร่งรัดให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP fast track)
เส้นทางสัมปทานรถไฟฟ้าของ BMCL
ความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีม่วง
โครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ เริ่มจากบริเวณคลองบางไผ่ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า ถนนวงแหวนรอบนอก (ตะวันตก) กาญจนาภิเษก เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้สะพานพระนั่งเกล้า ก่อนถึงสี่แยกแครายจะเลี้ยวขวาไปตามถนนติวานนท์ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนกรุงเทพ – นนทบุรี ถึงบริเวณแยกเตาปูน มีสถานีเตาปูนเป็นสถานีเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้ารถไฟฟ้าใต้ดิน MRT (สายสีน้ำเงิน) และในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ ปัจจุบันสถานีและเส้นทางเดินรถก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมทดลองเดินรถแล้ว มีรถไฟมาแล้ว 3 ขบวน หลังจากนี้ขบวนรถไฟฟ้าจะทยอยเดินทางมาถึงประเทศไทย จนครบทั้ง 21 ขบวนภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2559
รายได้ที่ผ่านมาของ BECL และ BMCL

