รถไฟไทย สายสีแดง ทางคู่ ไฮสปีด ได้นั่งครบเฟสแรก ปี 2566

รวมข่าว Update 3 โปรเจคยักษ์ใหญ่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่จะพลิกโฉมระบบการคมนาคมขนส่งของประเทศเราไปอีกขั้น ทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดง หนึ่งในโครงการระบบรถไฟชานเมือง ที่ชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑลรอกันมา 6 ปี
รถไฟทางคู่ ที่จะช่วยให้ระบบรถไฟทางไกลมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น รวมถึงเส้นทางใหม่เชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน อย่างสายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสาน บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม
รถไฟความเร็วสูง สายอีสานเฟสแรก กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่เดินหน้าก่อสร้างไปแล้ว และเส้นทางที่ทุกคนต่างจับตามอง อย่างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
แต่ละเส้นทางมีความคืบหน้าอย่างไร จะได้นั่งเมื่อไหร่ ตามไปดูกันเลย
รถไฟทางคู่ ที่จะช่วยให้ระบบรถไฟทางไกลมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น รวมถึงเส้นทางใหม่เชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน อย่างสายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสาน บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม
รถไฟความเร็วสูง สายอีสานเฟสแรก กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่เดินหน้าก่อสร้างไปแล้ว และเส้นทางที่ทุกคนต่างจับตามอง อย่างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
แต่ละเส้นทางมีความคืบหน้าอย่างไร จะได้นั่งเมื่อไหร่ ตามไปดูกันเลย
ภาพรวมโครงการรถไฟทั่วประเทศ
นับตั้งแต่รวมกรมรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าด้วยกันเป็น “กรมรถไฟหลวง” ในปี 2460 จนกระทั่งเปลี่ยนเป็น “การรถไฟแห่งประเทศไทย” ในปี 2494 มาจนถึงปัจจุบันนี้ (2562) ประเทศไทยเรามีเส้นทางรถไฟที่เปิดการเดินรถแล้ว ระยะทางรวม 4,507 กม. เป็นรถไฟทางเดี่ยวถึง 91% ส่วนทางคู่และทางสามรวมกันแล้วมีเพียง 9% จากทั้งหมด
จนเมื่อ 13 มีนาคม 2562 ได้มีพิธีเปิดสถานีขอนแก่นแห่งใหม่ ซึ่งเป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายอีสาน ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และคาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2562 นี้ ทำให้อนาคตของรถไฟทางคู่ที่รอกันมาแสนนานมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
เช่นเดียวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสานที่ขณะนี้มีการก่อสร้างไปแล้วบางส่วน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา ที่กลุ่ม CP เพิ่งชนะการประมูลไปเมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างรอเซ็นสัญญาก่อสร้าง
จากไทม์ไลน์ของรถไฟแต่ละสายที่จะทยอยเปิดให้บริการมาเรื่อยๆ ตั้งแต่รถไฟทางคู่สายอีสานและตะวันออก 2 เส้นทางใหม่ในปี 2562 ขยายลงสู่ภาคใต้ในปี 2564 รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้งสถานีกลางบางซื่อ และเส้นทางตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ที่จะเปิดให้บริการในช่วงต้นปีเดียวกัน
ในปี 2566 เราน่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของระบบรถไฟไทย ที่เชื่อมต่อทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด รวมไปถึงเส้นทางสู่ประเทศเพื่อนบ้าน และคาดว่าปี 2569 เป็นต้นไป ประเทศเราจะมีระบบคมนาคมด้วยรางที่มีประสิทธิภาพ ครบทุกเฟส ทุกเส้นทาง
รักษาการผู้ว่า รฟท. คอนเฟิร์ม ม.ค. 64 ได้นั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง
อีกหนึ่งโครงการที่ชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑลลุ้นกันมาแสนนาน หลังจากรอคอยกันมา 6 ปี ในที่สุดรถไฟฟ้าสายสีแดง หรือหนึ่งในโครงการระบบรถไฟชานเมือง อภิมหาโปรเจคมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ก็มีทีท่าว่าจะพร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 2564
จากสัมภาษณ์ของคุณวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พอสรุปได้ว่า ขณะนี้งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อค่อนข้างสมบูรณ์เกือบ 100% แล้ว เหลือเพียงส่วนของ Skywalk ระบบอาณัติสัญญาณ และระบบไฟฟ้า ส่วนไทม์ไลน์อื่นๆ เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยวางกรอบเวลาไว้ตามนี้

- – ต.ค. – พ.ย. 2562 รับขบวนรถชุดแรกที่จัดส่งมาจากทางญี่ปุ่น
- – ปลายปี 2562 สถานีกลางบางซื่อเสร็จสมบูรณ์ 100%
- – มิ.ย. 2563 ทดลองวิ่งจริง (Dynamic Test)
- – ม.ค. 2564 เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ ในเส้นทางตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต
- – ปี 2565 เปิดให้บริการส่วนต่อขยายช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์, ตลิ่งชัน-ศิริราช, ตลิ่งชัน-ศาลายา และ Missing Link บางซื่อ-หัวลำโพง
- – ปี 2566 เปิดให้บริการ Missing Link บางซื่อ-หัวหมาก
รถไฟทางคู่เฟสแรก ครบทุกภาค 2566
รถไฟทางคู่เฟส 1
- – สายอีสานและตะวันออก ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น คาดว่าจะเป็นเส้นทางแรกที่พร้อมให้บริการได้ในปี 2562 ล่าสุดเตรียมปรับเวลาเดินรถสายอีสานช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ให้สอดคล้องกับการเปิดใช้บริการรถไฟทางคู่แล้ว
- – สายอีสานและตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงกันยายนปี 2562
- – สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร เส้นทางหัวหิน-ประจวบฯ จะแล้วเสร็จช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 และครบทั้งสายตั้งแต่นครปฐมถึงชุมพรในปี 2564
- – สายอีสานและตะวันออก ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ซึ่งเป็นทางรถไฟไต่เขาเส้นทางสุดท้าย ทำให้ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างมากกว่าเส้นทางอื่นๆ มีกำหนดแล้วเสร็จปี 2565
- – สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ คาดว่าก่อสร้างเสร็จภายในปี 2565
รถไฟทางคู่เฟส 2
- – สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ซึ่งเป็นเส้นทางใหม่ ขณะนี้ผ่านการอนุมัติจาก ครม. แล้ว อยู่ในระหว่างร่าง TOR เพื่อทยอยเปิดประมูล คาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างได้ในปี 2562 แล้วเสร็จราวๆ ปี 2568
- – สายอีสานทั้ง 3 สาย ได้แก่ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม, ขอนแก่น-หนองคาย และชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี กำลังรออนุมัติจาก ครม. และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจาก EIA
- – สายเหนือ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย และ เด่นชัย-เชียงใหม่ รวมถึงโครงการรถไฟทางคู่ สายใต้ช่วง ชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา และ หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคมเตรียมส่งเรื่องเข้า ครม. หากผ่านการอนุมัติ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2563
High Speed สายอีสานมาแน่! ล่าสุด ครม. เคาะเพิ่มเชื่อม 3 สนามบิน ทันปี 66
เป็นอีกหนึ่งเมกะโปรเจคที่จะผลิกโฉมระบบคมนาคมของประเทศไทยอย่างก้าวกระโดด โดย 2 โครงการที่เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดตอนนี้ ก็คงจะเป็น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่เตรียมส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเริ่มการก่อสร้างได้ในปีนี้ และรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน ที่ทยอยเปิดประมูลและก่อสร้างไปบางส่วน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566
สายอีสาน
- – เฟสแรก กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252 กม. ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ส่วนแรก 3.5 กม. ใกล้เสร็จแล้ว ส่วนที่เหลือทยอยเปิดประมูล ภายในกรกฎาคม 2562
- – เฟสสอง นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 335 กม. อยู่ระหว่างการศึกษาเส้นทาง และจะส่งเรื่องให้ ครม. พิจารณาได้ต้นปีหน้า คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้กลางปี 2563
สายตะวันออก
สำหรับเฟสแรกของโครงการ ช่วงกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. หรือรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินนั้นก็ไฮสปีดสมชื่อ ล่าสุดมีมติเห็นชอบจาก ครม. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ให้กลุ่ม CPH เป็นผู้ชนะประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 1.49 แสนล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2562 และใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 ปีจึงแล้วเสร็จ ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าเราจะได้เห็นรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เที่ยวแรกราวๆ ปลายปี 2566สายเหนือ และ สายใต้
สำหรับสายเหนือ และสายใต้ ขณะนี้เรื่องอยู่ที่กระทรวงคมนาคมแล้ว และอยู่ระหว่างศึกษาเส้นทางของแต่ละโครงการ แต่ที่ดูมีความเป็นไปได้มากกว่าน่าจะเป็นสายใต้เฟสแรก ช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน (แว่วมาว่าอาจจะขยายไปจนถึงชุมพร-สุราษฎร์ธานี) ซึ่งถ้าผ่านการเห็นชอบของกระทรวงฯ ก็จะเข้าสู่กระบวนการของ PPP Fast Track กันต่อไปสรุป Timeline รถไฟทั่วประเทศ

2562
ที่มีแววว่าจะได้ใช้บริการแน่ๆ ในปีนี้ คือ รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และ ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย2563
สายสีแดงทดลองวิ่งกลางปี ตามมาด้วยรถไฟทางคู่หัวหิน-ประจวบฯ ที่มีกำหนดเสร็จในปี 2563 ส่วนรถไฟทางคู่เฟส 2 หากผ่านมติ ครม. คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปีเดียวกัน2564
ข่าวดีรับต้นปี รถไฟฟ้าสายสีแดงเปิดให้บริการ ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ, บางซื่อ-รังสิต ส่วนรถไฟทางคู่สายใต้เสร็จครบตั้งแต่นครปฐม-ชุมพร2565
เปิดส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง เช่นเดียวกับรถไฟทางคู่ลพบุรี-ปากน้ำโพ, มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ที่จะสร้างเสร็จและเปิดใช้ได้ในปีเดียวกัน2566
Missing Link บางซื่อ-หัวหมาก พร้อมให้บริการ รถไฟทางคู่เฟสแรกสร้างครบทุกเส้นทาง ความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย และรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เที่ยวแรกพร้อมวิ่งปี 66สำหรับส่วนต่อขยายที่เหลืออย่างโครงการรถไฟทางคู่เฟส 2 ที่น่าจะผ่านครม. และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2563 ก็คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568 เป็นต้นไป ส่วนรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ และสายใต้ที่อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ก็น่าจะตามมาในเวลาไล่เลี่ยกัน